ตู่นันทิดาแก้วบัวสาย ต้องมีส่วนรับผิดชอบ สารสไตรีนโมโนเมอร์คืออะไร พอลิสไตรีน คืออะไร พอลิสไตรีน พิษหนักถึงขั้น เกิดโรคพิษสไตรีน กลายเป็นมะเร็ง ระวัง สารเคมีฝนตก

บทความ

ตู่นันทิดาแก้วบัวสาย ต้องมีส่วนรับผิดชอบ สารสไตรีนโมโนเมอร์คืออะไร พอลิสไตรีน คืออะไร พอลิสไตรีน พิษหนักถึงขั้น เกิดโรคพิษสไตรีน กลายเป็นมะเร็ง ระวัง สารเคมีฝนตก

 ตู่นันทิดาแก้วบัวสาย ต้องมีส่วนรับผิดชอบ สารสไตรีนโมโนเมอร์คืออะไร พอลิสไตรีน คืออะไร พอลิสไตรีน โทษหนักถึงขั้น เกิดโรคพิษสไตรีน กลายเป็นมะเร็ง ระวัง สารเคมีฝนตก

News Update - วันที่ 7 กรกฎาคม 2564 “ป้อมยุทธนาวี พระเจดีย์กลางน้ำ ฟาร์มจระเข้ใหญ่ งามวิไลเมืองโบราณ สงกรานต์พระประแดง ปลาสลิดแห้งรสดี ประเพณีรับบัว ครบถ้วนทั่วอุตสาหกรรม” แค่คำขวัญประจำจังหวัดสมุทรปราการ ก็บ่งบอกว่า  ครบถ้วนทั่วอุตสาหกรรม

เป็นที่รู้กันดีว่า พื้นที่ [1] จังหวัดสมุทรปราการ เป็น โรงงานอุตสาหกรรม เป็นส่วนใหญ่ บรรดาโรงงาน นิคมอุตสาหกรรม ขนส่งสินค้าขนาดใหญ่ มีโกดังกลับสินค้า ตู้คอนเทนเนอร์มากมาย

และ หากพูดถึง โรงงานอุตสาหกรรม จังหวัดสมุทรปราการ ต้องมีชื่อนักการเมืองตระกูล อัศวเหม เป็นส่วนใหญ่ที่กุมอำนาจอยู่

ทั้ง เอ๋ชนม์สวัสดิ์อัศวเหม ประธานหอการค้าจังหวัดสมุทรปราการ และ ตู่นันทิดาแก้วบัวสาย นายก อบจ.สมุทรปราการ คนในตระกูล อัศวเหม บริหารงานด้านธุรกิจอุตสาหกรรม และ เป็น นักการเมืองท้องถิ่น ควบคุมดูแลโรงงานอุตสาหกรรมด้วย

คือ ทั้ง ดำเนินธุรกิจ และ เป็นฝ่ายควบคุม ภาครัฐ ดำเนินการตามกฎหมายไปพร้อมๆ กัน

ล่าสุด เว็บไซต์ medhubnews.com ข่าวสังคม สุขภาพ ท่องเที่ยว วาไรตี้ และ เพจ sasook ทวิตเตอร์ @medhub_news รายงานว่า คสตัวอย่างคือ กรณี ศึกษา คลองด่าน และ บท สรุป คดี คลองด่าน ที่นอกจากนายวัฒนา อัศเหม แล้ว นายปกิต กิระวานิช อดีตอธิบดีกรมควบคุมมลพิษ, นายศิริธัญญ์ ไพโรจน์บริบูรณ์ อดีตรองอธิบดีกรม, นางยุวรี อินนา อดีตผู้อำนวยการกองจัดการน้ำ กรมควบคุมมลพิษ ต้องชดใช้กรรม ตามที่เป็นข่าว

เป็นคดีระหว่าง ประชาชน กับ ภาครัฐ นำโดย กรมควบคุมมลพิษ ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย ในการอนุญาตให้โรงงานอุตสาหกรรมเปิดดำเนินธุรกิจ

จะเปิดได้ หรือ ไม่ได้ ก็อยู่ที่ [2] กรมควบคุมมลพิษ นี่แหละ ต้องตัดสินใจ

จาก เหตุเพลิงไหม้โรงงานกิ่งแก้ว, หมิ้งตี้เคมีคอล ระเบิด ไฟไหม้โรงงานกิ่งแก้วสารเคมี  พอลิสไตรีน, พอลิสไตรีน ผลกระทบ

ถังเก็บสารเคมีระเบิดที่ หมิ้งตี้เคมีคอล เมื่อเช้ามืดวันที่ 5 กรกฎาคม ส่งผลให้เกิด ไฟไหม้โรงงานกิ่งแก้วสารเคมี  กลุ่มควันสีดำพวยพุ่งขึ้นสูงท้องฟ้าและมองเห็นในระยะไกล

แรงระเบิดสร้างความเสียหายเป็นวงกว้างทั้งทรัพย์สินและประชาชนที่อาศัยอยู่โดยรอบ จนหน่วยงานปกครองส่วนท้องถิ่นได้ออกคำสั่งอพยพประชาชนออกจากพื้นที่ในรัศมี 5 กิโลเมตรอย่างเร่งด่วน

เนื่องจากภายในโรงงานมีสารเคมีจำนวนมาก และได้แจ้งให้ประชาชนในพื้นที่รัศมี 10 กิโลเมตรเฝ้าระวังพร้อมติดตามการแจ้งข่าวสารอย่างใกล้ชิด

หมิ้งตี้เคมีคอล  Ming Dih Chemecial Co.,Ltd., (Thailand) เป็นบริษัทที่ไทยและไต้หวันร่วมทุนนั้น ตั้งอยู่ที่ ซอยกิ่งแก้ว 21 ต. บางพลีใหญ่ อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ

หมิ้งตี้เคมีคอล ตั้งขึ้นในปี 2541 โดยมีกำลังการผลิตปีละ 30,000 ตัน ส่วนใหญ่เป็นการผลิต โฟม EPS หรือ Expandable Polystyrene

หมิ้งตี้เคมีคอล ไม่ใช่โรงงานแรก ก่อนหน้านี้วันที่ 2 เมษายน 2564 เกิดเหตุไฟไหม้ห้องอบสีโรงงานพ่นสีโลหะชิ้นส่วนรถยนต์และจักรยานยนต์ จาก อี้หลิง คอร์ปอเรชั่น ซอยแพรกษา 13 ต.แพรกษา อ.เมือง จ.สมุทรปราการ

อีกกรณีหนึ่ง วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2564 เกิดเหตุเพลิงไหม้ โรงงานรีไซเคิลพลาสติกและพลาสติกอัดเม็ด ในซอยเทศบาลบางปู 88 ต.บางปูใหม่ อ.เมือง จ.สมุทรปราการ ไฟได้ลุกลามไปลุกไหม้โรงงานข้างเคียงซึ่งมีถังน้ำมันทินเนอร์ขนาด 200 ลิตร และถังน้ำมันไฮดรอลิกเก็บอยู่จำนวนมาก

จังหวัดสมุทรปราการ ได้กลายพื้นที่อุตสาหกรรมสำคัญ จากการมีนิคมอุตสาหกรรมหลายแห่ง และเป็นศูนย์กลางการคมนาคมทั้งทางน้ำและทางอากาศ จึงนับเป็นจังหวัดที่มีโรงงานอุตสาหกรรมเป็นจำนวนมากที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศ

ข้อมูลจาก [3] กรมโรงงานอุตสาหกรรม ณ วันที่ 6 กรกฎาคม 2564 โรงงานอุตสาหกรรมซึ่งแยกตามขนาดเงินลงทุนและแรงงานมีจำนวนทั้งสิ้น 6,814 แห่ง โรงงานทั้ง 6,814 แห่ง อยู่ในนิคมอุตสาหกรรมเพียง 630 แห่ง ที่เหลือเป็นโรงงานนอกนิคมอุตสาหกรรมโดยอยู่ในอำเภอเมืองมากที่สุด 2,043 แห่ง

รองลงมาคืออำเภอบางพลีจำนวน 1,931 แห่ง อันดับสาม อำเภอบางพระประแดงจำนวน 925 แห่ง

เมื่อแยกออกเป็นรายอุตสาหกรรมพบว่า เป็นโรงงานผลิตภัณฑ์โลหะสูงสุด 1,428 แห่ง อันดับสองเป็นโรงงานผลิตภัณฑ์พลาสติก 861 แห่ง อันดับสามเป็นโรงงานผลิตยานพาหนะและอุปกรณ์

รวมทั้งการซ่อมยานพาหนะและอุปกรณ์ 565 แห่ง และอันดับสี่เป็นโรงงานเคมีภัณฑ์และผลิตภัณฑ์เคมี 451 แห่ง

ข้อมูล จากกรมโรงงานอุตสาหกรรม ยังมี รายการสารเคมีที่มีปริมาณการเก็บมากสุดของจังหวัดสมุทรปราการ ถึง 2,951 รายการ

เช่น กรดกำมะถันทินเนอร์ สารโซเดียมไฮโปคลอไรท์หรือคลอรีนน้ำ กรดไฮโดรคลอริก หรือ กรดเกลือ โซดาไฟ หรือ โซเดียมไฮดรอกไซด์โรงงานทั้งหมดมีปริมาณน้ำเสียรวมทั้งสิ้น 69,809 ลูกบาศ์กเมตร์ต่อวัน

สำหรับวัสดุที่ไม่ใช้แล้วจากโรงงานซึ่งเป็นประเภทอันตรายมีจำนวน 205,476.89 ตันต่อปี วัสดุที่ไม่ใช้แล้วที่มีการขอนุญาตนำออกนอกโรงงาน ปี 2563 ประเภทอันตรายมีจำนวน 354,672.95 ตัน

ด้วยเหตุที่โรงงานอุตสาหกรรม มีมลพิษมาก ทำให้กรมควบคุมมลพิษ ต้องทำงานกับจังหวัดสมุทรปราการ ตลอด

คำถามที่ว่า สารสไตรีนโมโนเมอร์คืออะไร, สารพิษสไตรีนโมโนเมอร์, สารสไตรีน, พอลิสไตรีน, พอลิสไตรีน ผลกระทบ, พอลิสไตรีน คืออะไร, พอลิสไตรีน โทษ, พอลิสไตรีน ใช้ทําอะไร, Polystyrene คุณสมบัติ, polystyrene คืออะไร, สารเคมีฝนตก, styrene monomer คือ, styrene คือ ?

จากข้อมูลด้านสุขภาพ [4] กองโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม ระบุว่า สารสไตรีนโมโนเมอร์ สารสไตรีน, พอลิสไตรีน ก่อให้เกิด โรคพิษสไตรีน ซึ่งสารชนิดนี้ เป็นของเหลวใส

เมื่อ สารสไตรีนโมโนเมอร์ เกิดอุณหภูมิเพิ่มขึ้นสามารถระเหยกลายเป็นไอได้อย่างรวดเร็ว และสามารถแพร่กระจายได้อย่างกว้างขวาง

ถ้าอุณหภูมิสูง 31 องศาเซลเซียสขึ้นไปจะระเหยได้ง่ายและเสี่ยงต่อการติดไฟ

โดยอาชีพที่เสี่ยง คือ การทำยาง การทำเรซิน การทำสารทำละลาย อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องผลิตภัณฑ์ซึ่งมีพลาสติกหรือยางสังเคราะห์เป็นองค์ประกอบ

สารสไตรีนโมโนเมอร์ นี้ สามารถเข้าสู่ร่างกายทั้งทางการหายใจ ทางการดูดซึมผ่านผิวหนัง และปนเปื้อนกับอาหารและน้ำดื่ม

และ เข้าสู่ทางเดินอาหาร ตัวที่เป็นพิษคือ สไตรีน ที่แปรรูปเป็น styrene-7,8-oxide ทางองค์การอนามัยโรค จัดว่า สารสไตรีน อาจก่อให้เป็นสารก่อมะเร็งในมนุษย์ได้

พิษของ สารสไตรีน พิษเฉียบพลัน ระคายเคืองทางเดินหายใจ ผิวหนังอักเสบ มีผลต่อระบบประสาทส่วนกลางและส่วนปลายทำให้มึนงง เดินโซเซ คลื่นไส้ อาเจียน อาจชักและเสียชีวิตได้หากได้รับในปริมาณสูง

ส่วน พิษเรื้อรัง อาจทำให้เป็นมะเร็งปอดและมะเร็งเม็ดเลือดขาวได้ อันตรายต่อระบบอวัยวะที่สำคัญของร่างกาย

สารสไตรีน จะเข้าสู่ร่างกายโดยการสูดดมไอ และการดูดซึมทางผิวหนัง สไตรีนถูกเมตาโบไลท์ที่ตับเปลี่ยนเป็นกรดแมนเดลิก และกรดเฟนิลไกลออกซิลิค

แต่ถูกขับออกจากร่างกายทางปัสสาวะ สารสไตรีน เป็นสารเสพติดได้ จะถูกทำให้รู้สึกอิดโรย และไม่สบายอย่างไม่ทราบสาเหตุเมื่อทำงานเสร็จแต่ละวัน

ไอระเหยของสารนี้ จะระคายเคืองตา จมูก และระบบทางเดินหายใจส่วนบน และจะทำให้รู้สึกมีรสโลหะในปาก อาการแบบเฉียบพลัน

การได้รับปริมาณสไตรีนที่มีความเข้มข้นสูงทำให้เกิดการระคายผิวหนัง และผิวหนังอักเสบ ระคายเคืองจมูกและลำคอ ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร ง่วงซึม และอ่อนเพลีย เสียความสมดุลของระบบประสาทส่วนกลาง

อาการแบบเรื้อรัง การได้รับสไตรีนติดต่อกันเป็นเวลานาน ทำให้เกิดอาการเวียนศีรษะ คลื่นไส้ ไม่อยากอาหาร อ่อนเพลีย มีอันตรายต่อตับ ไต และระบบเลือด อาจเป็นมะเร็ง

ในประเทศไทย มีแพทย์ที่เชี่ยวชาญโรคนี้ ไม่มากนัก หนึ่งในนั้น คือ แพทย์หญิงอรพรรณ์ เมธาดิลกกุล อดีตกรรมการแพทยสภา และ  นายกสมาคมแพทย์อาชีวเวชศาสตร์และสิ่งแวดล้อมแห่ง​ประเทศไทย (สพอท.)

การตั้งโรงงาน ประเภทนี้ ภายในย่านชุมชน ขึ้นอยู่ที่การอนุญาตของ กรมควบคุมมลพิษ ซึ่งต้องบอกว่า ปัญหาต่างๆ เหล่านี้ เกิดขึ้นจาก นายทุน ภาครัฐ ผู้มีอิทธิพล ในพื้นที่นั้นๆ !  

แท็ก : สารสไตรีนโมโนเมอร์คืออะไร, โดรนปิดวาล์ว, สารพิษสไตรีนโมโนเมอร์, เหตุเพลิงไหม้โรงงานกิ่งแก้ว, สารสไตรีน, หมิ้งตี้เคมีคอล, โดนฝนกรด, ตู่นันทิดาแก้วบัวสาย, นางงามชลิตา, ไฟไหม้โรงงานกิ่งแก้วสารเคมี, พอลิสไตรีน, พอลิสไตรีน ผลกระทบ, พอลิสไตรีน คืออะไร, พอลิสไตรีน โทษ, พอลิสไตรีน ใช้ทําอะไร, Polystyrene คุณสมบัติ, polystyrene คืออะไร, สารเคมีฝนตก, เว็บไซต์สุขภาพ, แพทย์หญิงอรพรรณ์ เมธาดิลกกุล

21 กรกฎาคม 2564

ผู้ชม 1263 ครั้ง

Engine by shopup.com