ล็อกดาวน์ล่าสุด ศบค.ยังเลี่ยงใช้  ล็อกดาวน์ประเทศ แต่สั่งเข้มคล้าย มาตรการล็อกดาวน์ 2563 ล็อกดาวน์เดินทางข้ามจังหวัด ห้ามออกจากบ้าน แต่ไม่เรียกเคอร์ฟิว หลัง สธชงศบคล็อกดาวน์ 14 วัน

บทความ

ล็อกดาวน์ล่าสุด ศบค.ยังเลี่ยงใช้  ล็อกดาวน์ประเทศ แต่สั่งเข้มคล้าย มาตรการล็อกดาวน์ 2563 ล็อกดาวน์เดินทางข้ามจังหวัด ห้ามออกจากบ้าน แต่ไม่เรียกเคอร์ฟิว หลัง สธชงศบคล็อกดาวน์ 14 วัน

 ล็อกดาวน์ล่าสุด ศบค.ยังเลี่ยงใช้  ล็อกดาวน์ประเทศ แต่สั่งเข้มคล้าย มาตรการล็อกดาวน์ 2563 ล็อกดาวน์เดินทางข้ามจังหวัด ห้ามออกจากบ้าน แต่ไม่เรียกเคอร์ฟิว หลัง สธชงศบคล็อกดาวน์ 14 วัน

News Update  : 9 กรกฎาคม 2564 หลังจาก ประชาชน เตรียมตัวล็อกดาวน์, ล็อกดาวน์เดินทางข้ามจังหวัด เพราะ สธชงศบคล็อกดาวน์ 14 วัน เมื่อวานนี้

โดย ล็อกดาวน์ล่าสุด วันที่ 9 ก.ค. พล.อ.ประยุทธ์ จันทรโอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการบริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ครั้งที่ 9/2564 ผ่านระบบวิดีโอทางไกล

โดย ศบค. ชุดเล็ก ได้เสนอแผนมาตรการเข้มข้นในการควบคุมการระบาดของโควิด ซึ่งมียอดผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่มสูงขึ้นในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา

ล่าสุด เว็บไซต์ medhubnews.com ข่าวสังคม สุขภาพ ท่องเที่ยว วาไรตี้ และ เพจ sasook ทวิตเตอร์ @medhub_news รายงานว่า  ที่ประชุม ศบค. กำหนดระยะเวลายกระดับมาตรการ 14 วัน จำกัดการเดินทาง โดยอาจจะให้เริ่มมีผลตั้งแต่พรุ่งนี้ (10 กค.) เป็นต้นไป พร้อมกำหนดเป้าหมายลดผู้ป่วยภายใน 2-4 สัปดาห์

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับร่างมาตรการที่ ศบค. เสนอให้นายกฯพิจารณาในวันนี้ คือ การจำกัดการเดินทางออกจากบ้าน และไปในสถานที่เสี่ยง เพื่อลดการเคลื่อนที่ของประชาชน

ศบค. ขอให้เวิร์คฟอร์มโฮม (WFH) 100 % ยกเว้นงานบริการที่จำเป็น และงานที่เกี่ยวข้องกับสาธารณูปโภค

และขอให้ประชาชน งดการเดินทางโดยไม่จำเป็น ยกเว้น เดินทางไปซื้ออาหาร ไปโรงพยาบาล และฉีดวัคซีนป้องกันโควิด

ขอความร่วมมือประชาชนในพื้นที่เสียง 6 จังหวัด ไม่ออกนอกเคหะสถานช่วงเวลา 22.00-04.00 น. เว้นแต่มีความจำเป็น แต่จะไม่ประกาศเป็นเคอร์ฟิว

ห้างสรรพสินค้าจะอนุญาตให้เปิดได้เฉพาะส่วนซุปเปอร์มาเก็ต แผนกขายยา แผนกอาหาร แผนกสินค้าเบ็ดเตล็ด ส่วนร้านสะดวกซื้อจะมีกำหนดเวลาเปิด–ปิด

สำหรับโรงพยายาล สถานพยาบาล คลินิกแพทย์รักษาโรค ร้านขายยา ร้านอาหารในส่วนที่ไม่ใช่สถานบันเทิง หรือสถานบริการ และแผงจำหน่ายอาหาร ร้านสะดวกซื้อขนาดเล็ก ร้านค้าทั่วไป

ธุรกิจหลักทรัพย์ ธุรกรรมการเงิน ธนาคาร ตู้เอทีเอ็ม ตลาดและตลาดนัดส่วนอาหารสด อาหารแห้ง อาหารปรุงรส อาหารสัตว์ เวชภัณฑ์ และสินค้าเบ็ดเตล็ด แก๊สหุงต้ม เชื้อเพลิง ปั๊มน้ำมัน ปั๊มแก๊ส การให้บริการขนส่งผู้โดยสาร และขนส่งสินค้ำ รวมทั้งบริการส่งสินค้าและอาหารตามสั่ง เปิดได้ตามปกติ

นอกจากนี้ยังเน้นมาตรการป้องกันส่วนบุคคล การสวมหน้ากากอนามัย งดการคลุกคลีใกล้ชิดกัน หรือรับประทานอาหารร่วมกัน ทั้งในที่บ้าน และสถานที่ทำงาน

ทั้งนี้ สืบเนื่องมาจาก วันที่ 8 กรกฎาคม 2564  นายแพทย์เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข แถลงมาตรการควบคุมสถานการณ์โรคโควิด 19 ว่า กระทรวงสาธารณสุขมีประกาศมาตรการ เพื่อควบคุมสถานการณ์การระบาด 5 มาตรการ

ดังนี้ 1 การตรวจหาเชื้อตามปกติใช้วิธี RT-PCR ซึ่งต้องใช้บุคลากรทางการแพทย์เก็บตัวอย่าง และเมื่อมีการตรวจมากทำให้รอผลตรวจนานข้ามวัน

จึงให้ใช้ Rapid Antigen Test หรือชุดทดสอบแบบรวดเร็ว โดยสถานพยาบาลดำเนินการได้ทันทีเมื่อมีความพร้อม และจะวางระบบรองรับเรื่องการตรวจด้วยตัวเองที่บ้านต่อไป

2 การดำเนินการแยกกักที่บ้านและชุมชน (Home Isolation & Community Isolation) ในผู้ป่วยโควิดกลุ่มไม่มีอาการหรือมีอาการเล็กน้อย จัดระบบสาธารณสุขดูแลติดตามให้เครื่องมือในการตรวจวัดไข้ วัดออกซิเจนในเลือด

หากอาการมากขึ้นหรือมีความเสี่ยงจะรับมาดูแลในโรงพยาบาล และร่วมกับ สปสช.ปรับเกณฑ์ เรื่อง Home Isolation

นอกจากนี้ ผู้ป่วยที่รักษาในโรงพยาบาลครบ 10 วันให้กลับมา Home Isolation ต่อจนครบ 14 วัน เพื่อลดปริมาณการใช้เตียง ให้คนที่มีความเสี่ยงหรือจำเป็นเข้าสู่โรงพยาบาลได้ต่อไป

3 มาตรการส่วนบุคคล โดยให้ Bubble and Seal ตัวเอง แยกรับประทานอาหารที่บ้านและที่ทำงาน เนื่องจากส่วนใหญ่ติดเชื้อจากที่บ้านและที่ทำงาน และเน้นการทำงานที่บ้าน (Work From Home) เพื่อลดการแพร่กระจายเชื้อต่อไป

4 จะเร่งฉีดวัคซีนกลุ่มเสี่ยงผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไปและ 7 กลุ่มโรคเรื้อรัง เพื่อลดการป่วยรุนแรงและเสียชีวิต โดยจะฉีดวัคซีนให้ได้ไม่น้อยกว่า 80% ใน 2 กลุ่มนี้ เน้นพื้นที่เสี่ยงใน กทม.และปริมณฑล จะเร่งฉีดให้ได้มากกว่า 1 ล้านโดสต่อสัปดาห์ ภายใน 1-2 สัปดาห์

และ 5 กระทรวงสาธารณสุขได้เสนอ ศบค.เพื่อยกระดับมาตรการทางสังคม ในการจำกัดห้ามเดินทางข้ามจังหวัด และปิดสถานที่เสี่ยงสถานที่รวมกลุ่มโดยไม่จำเป็น

ยกเว้นตลาด ซูเปอร์มาร์เก็ต ที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต ออกจากบ้านเท่าที่จำเป็น เช่น ไปซื้ออาหาร เดินทางไปโรงพยาบาล หรือไปฉีดวัคซีน เป็นต้น

โดยมาตรการนี้จะดำเนินการในพื้นที่เสี่ยงและพื้นที่กันชนอย่างน้อย 14 วัน เพื่อลดการระบาดใน กทม.และปริมณฑล ซึ่งจะเสนอ ศบค.เพื่อพิจารณามาตรการต่อไป

แท็ก : ล็อกดาวน์ประเทศ, ล็อกดาวน์ศบค, สธชงศบคล็อกดาวน์ 14 วัน, โควิดล็อกดาวน์, มาตรการล็อกดาวน์ 2563, กักตัวเถียงนาโมเดล, โควิดสายพันธุ์แลมบ์ด้า, คลัสเตอร์ใหม่, ล็อกดาวน์กทม, เตรียมตัวล็อกดาวน์, ล็อกดาวน์เดินทางข้ามจังหวัด, ล็อกดาวน์ล่าสุด, ล็อคดาวน์, ยอดติดโควิดวันนี้, เว็บไซต์สุขภาพ

09 กรกฎาคม 2564

ผู้ชม 2427 ครั้ง

Engine by shopup.com