Empirical Research ของจอร์จทาวน์ ชี้ว่า อายุของชาวอเมริกันกว่า 6.6 ล้าน ที่เตายก่อนวัย เพิ่มขึ้นได้ 10 ปี ถ้าเปลี่ยนไปใช้บุหรี่ไฟฟ้า และควรเป็น "จุดสิ้นสุด" ของบุหรี่มวนได้แล้ว

บทความ

ผลวิจัยเชิงประจักษ์ เตือนสติถึงเวลา "บุหรี่ไฟฟ้า" ควรเป็น "จุดสิ้นสุด" ของการสูบบุหรี่มวน

Empirical Research ของจอร์จทาวน์ ชี้ว่า อายุของชาวอเมริกันกว่า 6.6 ล้าน ที่เตายก่อนวัย เพิ่มขึ้นได้ 10 ปี ถ้าเปลี่ยนไปใช้บุหรี่ไฟฟ้า และควรเป็น "จุดสิ้นสุด" ของบุหรี่มวนได้แล้ว

 

medhubnews.com เว็บไซต์สุขภาพ และ เพจ sasook  รายงานว่า  หัวข้อข่าวจากสื่อดัง ระบุว่า “E-cigarette bans highlight public health divide between US and UK researchers”

เมื่อบุหรี่ไฟฟ้า เป็นสิ่งที่ท้าทายต่อนักวิจัยด้านสาธารณสุขให้สามัคคี ต่อการเปลี่ยนแปลงอุตสาหกรรมยาสูบครั้งสำคัญ และ น่าสนใจต่อการศึกษา พัฒนา และ มีส่วนร่วมผลักดันให้เกิดทางเลือกเพื่อสุขภาพ

“หลายๆ ประเทศ นักวิจัยได้ค้นพบว่า การใช้บุหรี่อิเล็กทรอนิกส์กลายเป็นวิธีที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในการเลิกสูบบุหรี่ขณะที่นักวิจัยอีกกลุ่มหนึ่งระบุว่า วัยหนุ่มสาวที่สูบบุหรี่อิเล็กทรอนิกส์นั้นไม่มีแนวโน้มจะสูบบุหรี่มากขึ้นเลย”  

งานวิจัยล่าสุดจากมหาวิทยาลัยจอร์จทาวน์ ชี้ว่า อายุของชาวอเมริกันกว่า 6.6 ล้านที่เสียชีวิตก่อนวัยสามารถเพิ่มขึ้นได้อีก 10 ปี ถ้าผู้สูบบุหรี่เปลี่ยนไปใช้บุหรี่ไฟฟ้า และบุหรี่ไฟฟ้าควรเป็น "จุดสิ้นสุด" ของการสูบบุหรี่

นายเดวิด เลวี่, นักวิจัยจากศูนย์การแพทย์ มหาวิทยาลัยจอร์จทาวน์ระบุผลวิจัยสามารถช่วยศัลแพทย์ทั่วประเทศ รวมไปถึงผู้เชี่ยวชาญด้านสาธารณสุขพัฒนายุทธศาสตร์เพื่อยุติการใช้บุหรี่ซิกาแรต ซึ่งอันตรายต่อสุขภาพกว่าบุหรี่ไฟฟ้าหลายเท่า ผู้เชี่ยวชาญจำนวนมาก อาทิ กระทรวงสาธารณสุข สหราชอาณาจักร สนับสนุนบุหรี่ไฟฟ้าเป็นทางเลือกแก่ผู้ที่ต้องการเลิกบุหรี่

ผลวิจัยจากวารสารโทแบคโค คอนโทรล ( Tobacco Control) แสดงผลการทดลองจากกรณีเลวร้ายที่สุด (worst case scenario) และดีที่สุด ( best case scenario )

เมื่อผู้สูบหันมาใช้บุหรี่ไฟฟ้าแทนบุหรี่ซิกาแรต พบว่า มีจำนวนผู้สูบกว่า 1.6ล้านคนที่มียายุยืนยาวขึ้น ในกรณีที่เลวร้ายที่สุด ส่วนกรณีที่ดีที่สุดอาจมีจำนวนผู้สูบถึง 6.6 ล้านคนที่ไม่ต้องเสียชีวิตก่อนวัยอันควร

"นอกจากนี้ การใช้บุหรี่ไฟฟ้ายังมีผลบวกด้านสุขภาพ ได้แก่ ลดความเสี่ยงของการเป็นโรคต่างๆ, ลดความเจ็บปวดทรมาน และป้องกันความเสี่ยงจากการควันบุหรี่มือสอง ( second hand smoke)

ผลประโยชน์เหล่านี้เป็นสิ่งสำคัญที่ควรนำมาพิจารณาแทนที่จะต่อต้านก่อนศึกษาข้อมูลที่แน่ชัดเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์นิโคตินรุปแบบใหม่" นายจอน บริตตัน, ประธานศูนย์วิจัยยาสูบและ แอลกอฮอล์ซศึกษาแห่งมหาวิทยาลัยนอตทิงแฮม กล่าว

อย่างไรก็ตาม การศึกษาเรื่องบุหรี่ไฟฟ้ายังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ หลายฝ่ายต้องการให้มีการศึกษาในระยะยาวถึงผลกระทบของบุหรี่ไฟฟ้าต่อสุขภาพของผู้ใช้อย่างแน่ชัด

แต่บางประเด็นที่คุณหมอเอ็นจีโอที่รับเงินจากภาษีเหล้าบุหรี่ของไทยมาใช้รณรงค์อย่างฟุ่มเฟือย ออกมาเน้นย้ำคือ การเข้าถึงของเยาวชน ( ซึ่งแก้ไขได้ ) และ อุปกรณ์ที่อาจไม่ปลอดภัย หรือไม่ได้มาตรฐาน

เสียงที่แพทย์ออกมาระบุว่า  อุปกรณ์ที่อาจไม่ปลอดภัย หรือ ไม่ได้มาตรฐาน ถูกนำมาย้ำๆ เดิมๆ เป็นสิ่งที่ทำได้ง่ายมาก โดยหน่วยงาน สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ( สมอ.)

ดังนั้นจึงทำให้เห็นทางออกที่สำคัญ ถึงการเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรมยาสูบ และ การผลักดันให้เกิดทางเลือกเพื่อสุขภาพ ไม่ปิดโอกาสการเข้าถึงอุปกรณ์ช่วยชีวิตของเขา 

เมื่อการรณรงค์ไม่ได้ผล สิ่งสำคัญในเวลานี้ การช่วยเหลือประชาชนกลุ่มผู้สูบบุหรี่ หรือ ญาติพี่น้อง บุคคลใกล้ชิด เช่น พ่อ  แม่ พี่ น้อง ลูกหลาน ที่ต้องแอบสูบบุหรี่มวนได้รับสารพิษ 100 % หรือ ผู้บริหารที่ต้องแอบสูบบุหรี่มวนเพื่อสถานะทางวิชาชีพ  ฯลฯ

อยากให้พวกเขาได้มีชีวิตยืนยาวเหมือนคนปกติ มีสุขภาพที่ดีกว่าเดิม มีการออกกำลังกาย รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ถือเป็นการส่งเสริมสุขภาพที่ถูกทาง และ เป็นการดูแลสุขภาพตัวเองในขั้นปฐมภูมิอย่างแท้จริง

ส่วนกลุ่มคนทั่วไป โดยเฉพาะ เด็ก และ เยาวชน ต้องห้ามอย่างจริงจัง เพราะการสูบบุหรี่มวน ทำให้สมองเสีย อวัยวะไม่แข็งแรง เจ็บไข้ได้ป่วย ต้องช่วยกันทำความดีชักชวนให้คนเลิกบุหรี่ ผู้บังคับใช้กฏหมายจะต้องเข้มงวดมากขึ้น

เราเดินหลงทางมา 15 ปี ถึงเวลาที่เจ้าหน้าที่ ซึ่งทำงานโดยใช้ภาษีประชาชน หรือ ภาษีบาป.....ต้องทำอย่างถูกทิศ ถูกทาง ซะทีได้แล้วค่ะ  

สำนักข่าว เมดฮับ นิวส์ medhubnews.com

Thailand Health and Wellness News   ( ไทยแลนด์ เฮลท์ แอนด์ เวลเนสนิวส์ ) 

เว็บไซต์ข่าวสุขภาพ 

https://www.facebook.com/Dr.sasook 

23 ธันวาคม 2565

ผู้ชม 40684 ครั้ง

Engine by shopup.com