"กรมสุขภาพจิต" แนะพาลูกหลานที่เป็น "เด็กพิเศษ" ร่วมลอยกระทง อย่าทิ้งไว้บ้าน
"กรมสุขภาพจิต" แนะพาลูกหลานที่เป็น "เด็กพิเศษ" ร่วมลอยกระทง อย่าทิ้งไว้บ้าน
การลอยกระทง เป็นประเพณีที่มีมาแต่โบราณ ที่มักจะทำกันในคืนวันเพ็ญ เดือน 12 หรือวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 12 อันเป็นวันพระจันทร์เต็มดวง และเป็นช่วงที่ น้ำหลากเต็มตลิ่ง
โดยจะมีการนำดอกไม้ ธูป เทียนหรือสิ่งของใส่ลงในสิ่งประดิษฐ์รูปต่างๆ ที่ไม่จมน้ำ เช่น กระทง เรือ แพ ดอกบัว ฯลฯ แล้วนำไปลอยตาม ลำน้ำ โดยมีวัตถุประสงค์ และความเชื่อต่างๆ กัน
ซึ่งครอบครัวที่มีเด็กกลุ่มพิเศษบางครอบครัว ไม่นิยมพาออกงาน เพราะมักอยู่ไม่นิ่งถูกทิ้งให้อยู่บ้านลอยกระทงออนไลน์
กองบรรณาธิการข่าว เว็บไซต์สุขภาพ medhubnews.com รายงานว่า กรมสุขภาพจิต ศูนย์สุขภาพจิตที่ 9 และสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา ร่วมกันจัดขึ้นที่วัดบ้านมะค่างาม ต.คลองไผ่ อ.สีคิ้ว พร้อมกับทุกจังหวัดทั่วประเทศว่า สุขภาพจิตเป็นเรื่องใกล้ตัว และเกี่ยวข้องกับการดำเนินชิวิตของประชาชนในทุกๆ เรื่อง
เทศกาลวันลอยกระทงวันนี้ นับเป็นโอกาสอันดีของประชาชนในการพาลูกหลานทั้งเด็กปกติและเด็กที่ป่วยเป็นโรคทางจิตเวช 4 โรค หรือ เรียกว่าเด็กกลุ่มพิเศษได้แก่ ออทิสติก (Autistic) โรคสมาธิสั้น ( Attention Deficit Hyperactive Disorder )
เด็กสติปัญญาบกพร่อง ( Mental Retard ) และ.เด็กที่มีภาวะบกพร่องในการเรียนรู้ ( Learning Disorder ) ซึ่งทั่วประเทศมีประมาณ 8 แสนคน
เด็กเหล่านี้ก็ต้องการความสนุกสนาน ได้ทำกิจกรรมนี้ร่วมกัน สร้างความผูกพันในครอบครัว ให้เด็กๆได้ฝึกฝนความคิดสร้างสรรค์ ปลูกฝังการทำกระทงโดยใช้วัสดุที่ย่อยสลายง่ายตามธรรมชาติ
เช่น ใบตอง ขนมปัง และสร้างความเข้าใจความหมายของวันลอยกระทง สอดแทรกความคิดการทำความดีโดยการทดแทนพระคุณของธรรมชาติ การขอขมาพระแม่คงคา
ซึ่งเปรียบเสมือนการขอโทษหลังทำผิดหรือทำสิ่งที่ไม่ดี น้อมรำลึกผู้มีบุญคุญกับเราทั้งธรรมชาติ บุคคล และการตั้งมั่นจะพัฒนาให้ดีขึ้นโดยการตั้งใจอธิษฐานก่อนลอยกระทงในน้ำ
ซึ่งในความหมายทางสุขภาพจิตคือการให้ทบทวนตนเอง ตระหนักรู้ ให้อภัยตนเองและผู้อื่น การมองตนเองในเชิงบวกเพื่อพัฒนาตนเองให้ดียิ่งๆขึ้นไป
“เด็กปกติที่อยู่ในวัย 5-6 ขวบ ซึ่งเป็นวัยที่เริ่มมีความเข้าใจและเริ่มเรียนรู้สิ่งแวดล้อมสังคม กระตือรือร้นในการเรียนรู้ใหม่ๆ การที่เด็กได้เข้าร่วมประเพณีลอยกระทงรวมทั้งกิจกรรมต่างๆทางสังคม การได้เห็นตัวอย่างจากพ่อแม่ผู้ปกครอง จะทำให้เด็กรู้สึกเชื่อมั่นและความภาคภูมิใจในตนเองในการทำความดีและมีส่วนร่วมในการรักษาสิ่งแวดล้อมต่อไปในอนาคต
ส่วนเด็กที่เป็นโรคสมาธิสั้น จะมีผลช่วยให้เด็กควบคุมตนเองดีขึ้น เกิดความมีคุณค่าและรู้สึกภูมิใจในตนเอง ในเด็กออทิสติก เด็กบกพร่องทางการเรียนรู้ และสติปัญญาบกพร่อง
อาจจะไม่เข้าใจความหมายลึกซึ้งของการลอยกระทง แต่สิ่งที่เด็กจะได้รับคือการมีส่วนร่วมกิจกรรมในครอบครัวและทางสังคม และบอกความต้องการของตนเองได้”
นายแพทย์กิตต์กวี โพธิ์โน ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจิตเวชนครพนมราชนครินทร์ จ.นครพนม กล่าวว่า การพาลูกหลานที่ป่วยเป็นโรคจิตเวชไปร่วมเทศกาลลอยกระทงในพื้นที่ต่างๆ ขอให้ผู้ปกครองเพิ่มความระมัดระวังดูแลความปลอดภัยใกล้ชิดเป็นกรณีพิเศษ
อย่าปล่อยทิ้งไว้อยู่บ้านน้า...มันเหงา นี่แหนะ !!
เนื่องจากเด็กกลุ่มนี้จะมีความเสี่ยงเกิดอันตรายจมน้ำได้สูง แม้กระทั่งน้ำตื้นก็ตาม เด็กจะมีปัญหาเรื่องการควบคุมตนเอง ไม่เข้าใจถึงภาวะเสี่ยงหรือภาวะที่เป็นอันตราย ไม่กลัวภัยอันตราย เด็กที่เป็นโรคสมาธิสั้น จะซนอยู่ไม่นิ่ง ชอบท้าทายโลดโผนอยู่แล้ว จึงมีความเสี่ยงเกิดอันตรายมาก
จึงขอแนะนำให้ลอยกระทงในจุดที่ปลอดภัย มีแสงสว่าง อยู่ห่างจากตลิ่งแม่น้ำ หรือในเด็กออทิสติกซึ่งมีปัญหาในการสื่อสาร จะต้องมีผู้ดูแลใกล้ชิด ไม่ปล่อยให้เด็กลงไปลอยกระทงตามลำพัง
ภาพจาก Side by Side
02 ธันวาคม 2565
ผู้ชม 1898 ครั้ง