ลุ้น ธนาคารรัฐจะรีบช่วย ประชาชน ธุรกิจขนาดเล็ก จากเวที SMEs ไทยไปต่ออย่างไร ฯ หลังเอกชน ทั้ง ธนาคารธนชาตพักชำระหนี้ พักหนี้กรุงศรีออโต้ ช่วยเหลือแล้ว
ลุ้น ธนาคารรัฐจะรีบช่วย ประชาชน ธุรกิจขนาดเล็ก จากเวที SMEs ไทยไปต่ออย่างไร ฯ หลังเอกชน ทั้ง ธนาคารธนชาตพักชำระหนี้ พักหนี้กรุงศรีออโต้ ช่วยเหลือแล้ว
ลุ้น ธนาคารรัฐจะรีบช่วย ประชาชน ธุรกิจขนาดเล็กอย่างไรบ้าง จากเวที SMEs ไทยไปต่ออย่างไร ด้วยกลไกความช่วยเหลือของ ธปท.-แบงก์รัฐ หลังเอกชน ทั้ง ธนาคารธนชาตพักชำระหนี้ พักหนี้กรุงศรีออโต้ แล้ว
News Update - ข่าว 19 กรกฎาคม 2564 นายฉัตรชัย ศิริไล กรรมการผู้จัดการธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) ในฐานะประธานกรรมการสมาคมสถาบันการเงินของรัฐ (สงร.) เปิดเผยถึง ผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ได้ขยายวงกว้างมากขึ้น
และยังมีความไม่แน่นอนสูงถึงการแพร่ระบาดของ COVID-19 ส่งผลให้ทุกภาคส่วนได้รับผลกระทบเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ต้องประสบปัญหาการดำเนินกิจการ
ดังนั้น ล่าสุด เว็บไซต์ medhubnews.com ข่าวสังคม สุขภาพ ท่องเที่ยว วาไรตี้ และ เพจ sasook ทวิตเตอร์ @medhub_news รายงานว่า การจัดสัมมนาออนไลน์ “SMEs ไทยไปต่ออย่างไร...ด้วยกลไกความช่วยเหลือของ ธปท.-แบงก์รัฐ” ซึ่งจัดขึ้นโดยความร่วมมือระหว่าง ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) สมาคมสถาบันการเงินของรัฐ (สงร.) และสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย
โดยมีนางธัญญนิตย์ นิยมการ ผู้ช่วยผู้ว่าการสายกำกับสถาบันการเงิน 2 ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) เป็นประธานร่วมในการสัมมนา
ซึ่งการจัดงานครั้งนี้เป็นการเพิ่มโอกาสให้กับผู้ประกอบการ SMEs ได้มีเวทีในการรับฟังมาตรการความช่วยเหลือจากสถาบันการเงินของรัฐ
พร้อมแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน เพื่อให้ความช่วยเหลือเป็นไปอย่างตรงจุดและทันท่วงที ซึ่งจะทำให้ SMEs ไทยผ่านพ้นวิกฤตของ COVID-19 นี้ไปได้
ที่ผ่านมาสถาบันการเงินของรัฐเข้ามามีบทบาทสำคัญในการให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs ที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 อย่างต่อเนื่อง
ทั้งการพักชำระเงินต้นและพักชำระดอกเบี้ย การลดเงินงวดผ่อนชำระ รวมทั้งการช่วยเหลือผ่านโครงการพักทรัพย์ พักหนี้ คลินิกแก้หนี้ และมีบทบาทในการเติมสภาพคล่องใหม่เข้าสู่ระบบผ่านมาตรการสินเชื่อฟื้นฟู
และมาตรการช่วยเหลือของสถาบันการเงินของรัฐแต่ละแห่ง ที่สามารถช่วยให้ผู้ประกอบการมีสภาพคล่องเพิ่มขึ้น ลดผลกระทบการจ้างงานและสามารถฟื้นฟูการประกอบธุรกิจได้
ทั้งนี้ภาคธุรกิจ SMEs ถือว่ามีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศเป็นอย่างมาก เพราะปัจจุบันภาคธุรกิจ SMEs มีแรงงานในระบบมากกว่า 15 ล้านราย หรือคิดเป็น 1 ใน 4 ของประชากรไทย
ถึงแม้ว่าจะมีสัดส่วน เพียง 34% ของจีดีพีประเทศ และมูลค่าการส่งออกเพียง 12% ของมูลค่าการส่งออกรวมของประเทศกว่า 7 ล้านล้านบาท ก็ตาม
ดังนั้นความช่วยเหลือของ ธปท. และสถาบันการเงินของรัฐครั้งนี้จะทำให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีได้รับความช่วยเหลืออย่างเต็มที่ และกลับมาดำเนินกิจการได้ต่อไป
สำหรับงานสัมมนาออนไลน์ “SMEs ไทยไปต่ออย่างไร...ด้วยกลไกความช่วยเหลือของ ธปท.-แบงก์รัฐ” จัดขึ้นเมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2564 เวลา 9.00-12.00 น.
โดยมีวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิจาก ธปท. และสถาบันการเงินของรัฐที่มาร่วมให้ข้อมูลมาตรการพักทรัพย์ พักหนี้ สินเชื่อฟื้นฟู และสินเชื่อสถาบันการเงินของรัฐ
รวมถึงแนวทางการเตรียมตัวขอสินเชื่อพร้อมทางรอดในสถานการณ์โควิด -19 เพื่อให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs ให้ผ่านพ้นวิกฤต COVID-19
โดยภายในงานมีผู้ประกอบการ SMEs ผู้แทนจากกระทรวงการคลัง ธนาคารแห่งประทศไทยสถาบันการเงินของรัฐ และสื่อมวลชน เข้าร่วมฟังการสัมมนาผ่านระบบ Zoom และรับชมผ่าน Facebook live สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย รวมประมาณ 1,000 ราย
มีผู้ประกอบการภาคธุรกิจบริการและการผลิตมากกว่า 75% เข้าร่วมรับฟังสัมมนาออนไลน์เพื่อดำเนินการตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของ COVID-19
แท็ก : ธอส, ธกส, พักชำระเงินต้น, พักชำระดอกเบี้ย, ลดเงินงวดผ่อนชำระ, โครงการพักทรัพย์, พักหนี้, คลินิกแก้หนี้, ธนาคารธนชาตพักชำระหนี้, พักหนี้กรุงศรีออโต้, ธนาคารในห้างสรรพสินค้า, สมาคมสถาบันการเงินของรัฐ, ธปท. สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย, SMEs ไทยไปต่ออย่างไร...ด้วยกลไกความช่วยเหลือของ ธปท.-แบงก์รัฐ, เว็บไซต์สุขภาพ, มาตรการสินเชื่อฟื้นฟู, มาตรการช่วยเหลือของสถาบันการเงิน, มาตรการพักทรัพย์, มาตรการพักหนี้, สินเชื่อฟื้นฟู, สินเชื่อสถาบันการเงิน
19 กรกฎาคม 2564
ผู้ชม 986 ครั้ง