มหัศจรรย์ กรมควบคุมโรค เผยซิโนแวค ป้องกันติดเชื้อ 90% เตรียมนำเข้าอีก 19 ล้านโดส แฉ องค์การเภสัชกรรม เป็น ผู้นำเข้า และจะไม่เปิดเผยความลับในสัญญาด้วย

บทความ

มหัศจรรย์ กรมควบคุมโรค เผยซิโนแวค ป้องกันติดเชื้อ 90%  เตรียมนำเข้าอีก 19 ล้านโดส แฉ องค์การเภสัชกรรม เป็น ผู้นำเข้า และจะไม่เปิดเผยความลับในสัญญาด้วย

 มหัศจรรย์ กรมควบคุมโรค เผยซิโนแวค ป้องกันติดเชื้อ 90%  เตรียมนำเข้าอีก 19 ล้านโดส แฉ องค์การเภสัชกรรม เป็น ผู้นำเข้า และจะไม่เปิดเผยความลับในสัญญาด้วย

 

News Update - ข่าว 21 กรกฎาคม 2564  กรณี เมื่อวันที่ 20 ก.ค.64 แพทย์ประจำบ้าน แพทย์ประจำบ้านต่อยอด และอาจารย์แพทย์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี และสถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ออกแถลงการณ์รายชื่อแพทย์ฯ เรื่อง ขอแสดงจุดยืนและเรียกร้องให้มีการจัดหาและจัดสรรวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ที่มีประสิทธิภาพสูง พร้อมแนบเอกสารรายชื่อแพทย์ 604 รายชื่อ

แถลงการณ์ดังกล่าวระบุว่า เนื่องจากสถานการณ์การระบาดของเชื้อโควิด-19 ของประเทศไทยในปัจจุบันทวีความรุนแรงขึ้นอย่างมาก มีจํานวนผู้ติดเชื้อและผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งส่งผลกระทบต่อระบบสาธารณสุขโดยรวม

แม้ว่าในขณะนี้บุคลากรทางการแพทย์ส่วนใหญ่จะได้รับวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 แล้ว แต่ยังพบการระบาดในหมู่บุคลากรทางการแพทย์ จึงเป็นหลักฐานเชิงประจักษ์ว่าวัคซีนชนิดเชื้อตาย ที่รัฐบาลได้จัดหามาให้ใช้เป็นวัคซีนหลักนั้น

ไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอในการยับยั้งการระบาดของโรคโควิด-19 โดยเฉพาะอย่างยิ่งสายพันธุ์เดลตา (อินเดีย) ทําให้ต้องสูญเสียทรัพยากรบุคคลในการทํางาน ภาระงานของบุคลากรที่เหลืออยู่เพิ่มมากขึ้นจนเกินศักยภาพ

ส่งผลกระทบโดยตรงต่อการดูแลรักษาผู้ป่วยนับเป็นการดําเนินนโยบายบริหารวัคซีนที่ผิดพลาดอย่างร้ายแรง

นอกจากนี้ในช่วงเวลาที่ผ่านมา การสื่อสารของรัฐบาลในการให้ข้อมูลจัดหาและจัดสรรวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 นั้น เป็นไปด้วยความสับสนทําให้เกิดข้อสงสัยมากมายจากประชาชน

ทั้งในแง่ความถูกต้องทางวิชาการ และความโปร่งใสของรัฐบาลและผู้เกี่ยวข้อง ซํ้าแล้วการดําเนินการจัดหาวัคซีนยังเป็นไปอย่างล่าช้า และไม่เป็นไปตามแผนที่ได้ให้คําสัญญาเอาไว้กับประชาชน ทําให้ในปัจจุบันประเทศไทยยังไม่มีวัคซีนที่มีประสิทธิภาพเพียงพอให้กับประชาชนทุกคน

ดังนั้น จึงขอแสดงจุดยืนและเรียกร้องให้จัดหาและจัดสรรวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ที่มีประสิทธิภาพสูง เช่น mRNA vaccine, Protein subunit vaccine เป็นต้น

อันมีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่บ่งชี้ว่ามีประสิทธิภาพในการป้องกันโรคโควิด-19 ได้เป็นอย่างดี ให้แก่บุคลากรทางการแพทย์และประชาชนทุกคน

ล่าสุด เว็บไซต์ medhubnews.com ข่าวสังคม สุขภาพ ท่องเที่ยว วาไรตี้ และ เพจ sasook ทวิตเตอร์ @medhub_news รายงานว่า   นายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค และนายแพทย์จักรรัฐ พิทยาวงศ์อานนท์ ผู้อำนวยการกองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค แถลงข่าวการจัดหาวัคซีนโควิด 19

นายแพทย์โอภาสกล่าวว่า การจัดหาวัคซีนโควิด 19 มีการลงนามจองซื้อและจะส่งมอบตามสัญญาจำนวน 100 ล้านโดสในปี 2564

ได้แก่ แอสตร้าเซนเนก้า 61 ล้านโดส ซิโนแวค 19 ล้านโดส และไฟเซอร์ 20 ล้านโดสแต่ความต้องการฉีดวัคซีนของประชาชนมีจำนวนมาก

กระทรวงสาธารณสุขจะจัดหาเพิ่มเติมและแจ้งความคืบหน้าต่อไป สำหรับการลงนาม 3 ฝ่ายระหว่างกรมควบคุมโรค แอสตร้าเซนเนก้า และสถาบันวัคซีนแห่งชาติ เมื่อวันที่ 27 กันยายน 2563

มีข้อตกลงว่าจะไม่เปิดเผยความลับในสัญญา ถ้าจะเปิดเผยต้องได้รับความยินยอม 3 ฝ่าย มิเช่นนั้นถือว่าทำผิดสัญญาและอาจถูกยกเลิกไม่มีการส่งวัคซีนให้ประเทศไทยได้

ทั้งนี้ ในสัญญาไม่ได้มีประเด็นอะไรซับซ้อน แต่ภาคเอกชนคำนึงถึงความลับทางการค้าที่อาจมีผลกับการทำสัญญากับอีกหลายประเทศ

สำหรับผลการศึกษาประสิทธิผลการใช้วัคซีน “ซิโนแวค” ในสถานการณ์จริงของประเทศไทย โดยติดตามกลุ่มผู้สัมผัสเสี่ยงสูงและบุคลากรทางการแพทย์ พบว่า จ.ภูเก็ตป้องกันการติดเชื้อ 90% จ.สมุทรสาคร ป้องกันการติดเชื้อประมาณ 90%

แต่เป็นช่วงของสายพันธุ์อัลฟา ส่วนเดือนมิถุนายน 2564 มีการระบาดในบุคลากรทางการแพทย์ จ.เชียงราย ผลการศึกษาพบว่าประสิทธิผลอยู่ที่ 82.8% แม้จะลดลงแต่อยู่ในระดับที่น่าพอใจ

ส่วนการติดเชื้อในบุคลากรทางการแพทย์ทั้งประเทศรวบรวมโดยกรมควบคุมโรค ช่วงเดือนพฤษภาคมพบว่าป้องกันการติดเชื้อ 70.9% ข้อสังเกตคือประสิทธิผลป้องกันการติดเชื้อเริ่มลดลง

เนื่องจากเชื้อกลายพันธุ์ จึงต้องหาวิธีเพิ่มประสิทธิผลป้องกันการติดเชื้อให้ดีขึ้น เป็นที่มาของการปรับสูตรการฉีดวัคซีนเป็นเข็ม 1 ซิโนแวค เว้น 3-4 สัปดาห์ฉีดเข็มสองเป็นแอสตร้าเซนเนก้า ประสิทธิผลการป้องกันโรคสูงขึ้นหลายเท่าเมื่อเทียบกับการฉีดซิโนแวค 2 เข็ม

รวมถึงฉีดวัคซีนได้ครอบคลุมรวดเร็วยิ่งขึ้น เนื่องจากใช้เวลา 4 สัปดาห์ จากเดิมฉีดแอสตร้าเซนเนก้า 2 เข็มต้องเว้นช่วง 12 สัปดาห์ ทำให้รองรับสถานการณ์การระบาดได้ดียิ่งขึ้น

สำหรับ รายชื่อ ผู้แทนนำเข้าวัคซีนโควิด 19 จำนวน 6 ราย ได้แก่ บริษัท แอสตร้าเซนเนก้า (ประเทศไทย) จำกัด ผู้นำเข้าวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า, บริษัท ไฟเซอร์ (ประเทศไทย) จำกัดผู้นำเข้าวัคซีนไฟเซอร์ บริษัท ซิลลิค ฟาร์มา จำกัด ผู้นำเข้าวัคซีนโมเดอร์นา, บริษัท แจนเซ่น-ซีแลก จำกัด ผู้นำเข้าวัคซีนจอห์นสันแอนด์จอห์นสัน, บริษัท ไบโอจีนีเทค จำกัด ผู้นำเข้าวัคซีนซิโนฟาร์มและวัคซีนของบารัต และองค์การเภสัชกรรม (อภ.) ผู้นำเข้าวัคซีนซิโนแวค

21 กรกฎาคม 2564

ผู้ชม 1158 ครั้ง

Engine by shopup.com