กลุ่มกัญชาชน หนุน อ.จุฬา ซัด "สมองทำด้วยอะไร ?" ไทยไม่ยืนตามองค์การอนามัยโลก เอากัญชาออกจากยาเสพติด

บทความ

กลุ่มกัญชาชน หนุน อ.จุฬา ซัด "สมองทำด้วยอะไร ?" ไทยไม่ยืนตาม องค์การอนามัยโลก เร่งเอา กัญชา ออกจากยาเสพติด

 เราจะมี กัน และ กัญ หนุน อ.จุฬา ซัด "สมองทำด้วยอะไร ?" ไทยไม่ยืนตาม WHO แคมเปญวันกัญชาโลก คึกคัก ทั้ง “พันธุ์บุรีรัมย์” Thailand Medical Marijuana

News Update  : ย้อนกลับไป กรณี คณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญด้านการพึ่งพายาขององค์การอนามัยโลก ออกรายงานว่าด้วย แคนนาบิไดออล ( Cannabidiol ) หรือ CBD

medhubnews.com เว็บไซต์สุขภาพ  และ เพจ sasook  รายงานว่า CBD เป็นหนึ่งในกว่า 100 สารประกอบที่พบในกัญชา

โดยพบว่าจนถึงขณะนี้ ยังไม่เคยมีหลักฐานใดๆที่ชี้ชัดว่าแคนนาบิไดออลมีโทษต่อร่างกาย แต่ในทางตรงข้าม กลับมีประโยชน์ โดยใช้ในการบำบัดอาการชักจากโรคลมชักได้ทั้งในเด็ก ผู้ใหญ่ และสัตว์

รวมถึงใช้รักษาอาการของโรคอัลไซเมอร์ อาการประสาทหลอน มะเร็ง และโรคพาร์กินสันได้ ซึ่งยังพบอีกว่า CBD ยังต่างจากสารอื่นๆที่พบในกัญชา

หรือที่เรียกว่าสารตระกูลแคนนาบินอยด์ ตรงที่ไม่มีฤทธิ์ต่อประสาท เท่ากับไม่สามารถทำให้ "เมา" ได้ และยังไม่ทำให้ผู้ใช้ต้องพึ่งพายา หรือเกิดการติดยาอีกด้วย

WHO ยังระบุด้วยว่า คุณประโยชน์ทางยาของ CBD ทำให้รัฐบาลหลายประเทศเริ่มปรับกฎหมายเพื่อให้สามารถนำสารชนิดนี้มาใช้รักษาผู้ป่วยได้

แต่ยังมีรัฐบาลบางประเทศ เช่นสหรัฐฯ ที่ยังขึ้นบัญชี CBD ให้อยู่ในสารควบคุมประเภท 1 คือให้โทษสูงและไม่มีประโยชน์ทางการแพทย์ ทำให้เกิดการซื้อขาย CBD อย่างผิดกฎหมาย เสี่ยงต่อการใช้เกินขนาดหรือผิดวิธี รวมถึงการได้ยาที่ไม่มีคุณภาพ

องค์การอนามัยโลกได้ออกรายงานที่ชื่อว่า The health and social effects of nonmedical cannabis use หรือผลกระทบด้านสุขภาพและสังคมที่เกิดจากการใช้กัญชาโดยไม่ใช่ทางการแพทย์ ซึ่งมีกระทรวงสาธารณสุขของสวีเดนเป็นเจ้าภาพ

โดยรายงานดังกล่าวระบุว่าการผลกระทบจากการเสพกัญชาที่ชัดเจนที่สุด ก็คือการทำให้ผู้เสพเสี่ยงต่อการก่ออุบัติเหตุจราจรเพิ่มขึ้นตั้งแต่ 1-3 เท่า

อย่างไรก็ตาม ผลกระทบดังกล่าวถือว่าน้อยมากเมื่อเทียบกับผลกระทบที่ผู้ขับขี่รถยนต์ได้รับจากการดื่มแอลกอฮอล์ พวกเหล้า เบียร์ นั่นแหละ ควรควบคุมเลิกผลิต

แต่เมืองไทย แปลกๆ ทั้งๆ ที่เรามีนักวิทยาศาสตร์การแพทย์ มีนักเทคนิคการแพทย์ นักวิจัยมากมาย  ปล่อยให้เรื่องนี้ช้าไปมาก

เพราะจำได้ว่า เรา medhubnews.com เว็บไซต์สุขภาพ  และ เพจ sasook นำเสนอ เกาะติด เสนอแนะ ผลักดันเรื่องนี้มาตลอด ดั่งที่เคยเป็นกระแสข่าวในช่วงสองปีที่แล้ว 

เช่นเดียวกันกับกรณี บุหรี่ไฟฟ้า ที่มีลักษณะคล้ายๆ กัน คือ การบุกเบิก หรือ นำเสนอข่าวสารก่อนใคร จะถูกมองว่าสนับสนุนสิ่งไม่ดี หรือ มีผลประโยชน์กับบริษัทข้ามชาติ

กรณี บุหรี่ไฟฟ้า ถูกบล็อกสาระความรู้ ข่าวสารที่ถูกต้อง จึงทำให้เป็น “ผู้ร้าย” อยู่ แต่ก็ทีละเรื่อง ก่อนหน้ากัญชา เรานำเสนอประเด็น สารออกฤทธิ์ที่สำคัญในใบกระท่อม  มีฤทธิ์กระตุ้นระบบประสาทส่วนกลาง ทำให้ตื่นตัว หูตาสว่าง ไม่ง่วงซึม

* ข่าวที่เกี่ยวข้อง :  “กลุ่มลาขาดควันยาสูบ ( ECST )” สุดทน "มูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่" แสดงจุดยืนต้านบุหรี่ไฟฟ้าไร้เหตุผล

การศึกษาทางเภสัชวิทยาของสารออกฤทธิ์ในใบกระท่อม มีมานานหลายสิบปี แต่การนำไปใช้ประโยชน์ยังอยู่ในขั้นเริ่มต้น ทั้งๆ ที่มันควรจะเดินไปด้วยกัน

กระทรวงสาธารณสุขเมืองไทย และหน่วยงานที่สำคัญ เช่น FDA  ค่อนข้างล่าช้ากว่าเทคโนโลยีที่ออกมาในโลกยุคใหม่มาก ๆ แต่ที่โชคดีคือ วิสัยทัศน์ของพรรคการเมือง ที่เข้ามาเป็นรัฐบาลมีหน้าที่บริหาร ควบคุม กำกับข้าราชการประจำให้ทำงานอย่างเต็มกำลัง

สองปีที่แล้ว มีการตั้ง คณะทำงานเพื่อวางระบบการควบคุมในการศึกษาวิจัยและการใช้ทางการแพทย์ โดยมี เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เป็นประธาน จนตอนนี้หมอคนนั้นเกษียณอายุราชการไปแล้ว

ตอนนั้นมีการตั้งคณะทำงาน  4 คณะ โดยจะศึกษาวิจัย ซ้ำกับที่ต่างประเทศทำมาแล้ว พิสูจน์ได้ว่า กัญชาสามารถรักษาโรคหลายชนิด

เช่น โรคลมชัก โรคพาร์กินสัน หรือ โรคมะเร็งระยะสุดท้าย ส่วนโรคอัลไซเมอร์ โรคออทิสติก โรคมะเร็งชนิดอื่นๆ

หากถามว่าล่าช้าไหม ? ต้องตอบเลยว่า ช้ามาก จนทำให้ พรรคการเมืองสองพรรค คือ พรรคอนาคตใหม่ กับ พรรคภูมิใจไทย กำหนดเป็นนโยบาย  และจะเข้ามาเป็นรัฐบาลบริหารจริงจัง

ด้าน ศาสตราจารย์ นายแพทย์ ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ศาสตราจารย์สาขาประสาทวิทยา ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการโรคทางสมอง โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์  กล่าวผ่านเฟสบุ๊ค Thiravat Hemachudha ว่า 

องค์การอนามัยโลกเป็นจุดยืน เอากัญชาออกจากยาเสพติดให้ถือเป็นยาและตัว CBD หรือกันชง นั่นเองให้ใช้เสรี ดังที่ประเทศญี่ปุ่นซึ่งเข้มงวดรุนแรง ขณะนี้มี CBD ในรูปของบุหรี่ไฟฟ้าขายทั่วไป ส่วน สารที่เป็น THC ให้เป็นยาเช่นเดียวกันแต่ต้องระวังเรื่องการใช้

ดูแล้วคนไทยยังไม่ชิน อาจจะมองบุหรี่ไฟฟ้า เป็นตัวร้าย แต่หากเทียบกับการสูบบุหรี่มวนสามารถลดอันตรายได้มากกว่าบุหรี่มวน 95 %

ประเทศไทยไม่ยืนตามองค์การอนามัยโลก ไม่โต้แย้ง INCB International narcotics control board พี่ยังไม่พิจารณาข้อเสนอขององค์การอนามัยโลก รอไปก่อนปีหน้า

กัญชง ในประเทศไทยที่ถือเป็นยาเสพติดเพราะชื่อภาษาอังกฤษเหมือนกัญชา Cannabis sativa รูปร่างเหมือนกัญชาอย่างนั้นเวลาจับแยกไม่ออกก็เลยจับมันหมด

...............สมองทำด้วยอะไร ?

นั่นคือคำตำหนิของ ศาสตราจารย์ นายแพทย์ ธีระวัฒน์ ที่เชี่ยวชาญเรื่องกัญชาทางการแพทย์อย่างมาก โดยมีกลุ่มกัญชาชนสนับสนุนมากมาย  

อย่างไรก็ตาม ตอนนี้ควรโฟกัสที่ พรรคภูมิใจไทย นายเนวิน ชิดชอบ ประกาศชัดเจน สนับสนุนแนวนโยบายกัญชา โดยการใช้รูปแบบแคลิฟอร์เนียโมเดล เป็นการเปิดเสรี

ใครจะปลูกกัญชา ใครจะค้ากัญชา แปรรูปกัญชา ก็ไปยื่นขออนุญาตจากรัฐ โดยให้เกิดความทั่วถึง ประชาชนทุกครอบครัวขออนุญาตปลูกได้ครอบครัวละ 6 ต้น และเตรียมจัดงานวันกัญชาโลก ครั้งแรกในประเทศไทย เพื่อการแพทย์ “พันธุ์บุรีรัมย์”

แน่นอนว่า นายอนุทิน ชาญวีรกูล หัวหน้าพรรคภูมิใจไทย ให้ความสำคัญมาก เพราะสองคนนี้เหมือนคนเดียวกัน นายเนวิน ก็คือ นายอนุทิน ส่วนนายอนุทิน ก็คือนายเนวิน

สำหรับ งานวันกัญชาโลก จัดขึ้นอย่างยิ่งใหญ่ในประเทศไทย เมื่อ 19-21 เม.ย. ซึ่ง เป็นวันกัญชาโลก ตรงกับวันที่ 20 เมษายน ของทุกปี 

ในฐานะที่เคยทำงานกับ นายเนวิน  นายอนุทิน พรรคภูมิใจไทย ในห้วงเวลาหนึ่ง ขอบอกว่า กัญชาเสรี ปังแน่นอน ส่วนคนที่อยู่ในกรุงเทพ ขอแนะนำ งาน Thailand Medical Marijuana จากองค์กรเอกชน เครือข่ายผู้เชียวชาญการบริการ  

และธุรกิจในอุตสาหกรรมกัญชาทางการแพทย์ หรือ Thailand Medical Marijuana ณ โรงแรม แรมแบรนดท์ สุขุมวิท ซอย 18 Rembrandt Hotel Bangkok 

กองบรรณาธิการ medhubnews.com เว็บไซต์สุขภาพ  และ เพจ sasook  โดยบรรณาธิการข่าวสายสุขภาพ จะเป็น วิทยากร แชร์ความรู้ในงาน  Thailand Medical Marijuana ซึ่งคนกรุงเทพ ไม่ควรพลาดเด็ดขาด 

โดยจะมีการเสริ์ฟของว่าง เช่น กาแฟร้อนๆ และ บราวนี่สุดอร่อย จะได้ไม่ง่วงนอนยามบ่าย อีกด้วย !

ขอขอบคุณ ภาพจาก พันธมิตรสื่อ  Rabbit Today กลุ่มกัญชาชน 

21 มิถุนายน 2564

ผู้ชม 6308 ครั้ง

Engine by shopup.com