Pride Month คู่รักเลสเบี้ยน คู่รักเกย์ วอน กรม สบส.ปรับกฎหมาย อุ้มบุญ เอื้อให้มีความเท่าเทียมกันทางเพศ เว็บไซต์สุขภาพ

บทความ

Pride Month คู่รักเลสเบี้ยน คู่รักเกย์ วอน กรม สบส.ปรับกฎหมาย อุ้มบุญ เอื้อให้มีความเท่าเทียมกันทางเพศ

ขอลูกบุญธรรม , รับลูกบุญธรรม , มีใครสนใจ รับ บุตรบุญธรรมบ้าง , หาคนอุปการะบุตร 2562  , มีใครสนใจ รับ บุตรบุญธรรมบ้าง 2018 , ลูกบุญธรรม ,  มีใครสนใจ รับ บุตรบุญธรรมบ้าง 2019  , กฎหมายอุ้มบุญ 2561 , บทความกฎหมายอุ้มบุญ

รับจ้างอุ้มบุญ 2018 , ผลกระทบของการอุ้มบุญ , ปัญหาการอุ้มบุญ , การอุ้มบุญผิดหลักจริยธรรมหรือไม่ , รับจ้างอุ้มบุญ2562 , รับสมัครแม่อุ้มบุญ2018 , มีใครสนใจ รับ บุตรบุญธรรมบ้าง 2017 อุปการะบุตร , รับอุปการะบุตร 2019

News Update : ประโยคที่ว่า หาคนอุปการะบุตร  มีใครสนใจ รับ บุตรบุญธรรมบ้าง  กับ ขอลูกบุญธรรม  มักแฝงอะไรไว้ให้คิด เพราะเป็นเรื่องของชีวิต ไม่ใช่สินค้า

หลาย ๆ ประเทศในแถบเอเชีย การอุ้มบุญถือเป็นเรื่องผิดกฎหมาย ด้วยความอ่อนไหวว่าอาจขัดต่อศีลธรรมอันดี โดยเฉพาะกรณีว่าจ้างหรือรับจ้างท้องแทน ( อ่านข่าว ขั้นตอนการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม

เนื่องจากร่างกายของผู้หญิงมิใช่สิ่งที่พึงซื้อขายกันได้ แต่สำหรับประเทศไทย การอุ้มบุญได้รับความนิยมในกลุ่มคนกลุ่มหนึ่งอย่างมากมาย

แม้ว่า การอุ้มบุญเป็นพัฒนาการทางการแพทย์ที่เพิ่มโอกาสให้หญิงผู้ประสบปัญหามีบุตรยาก ได้มีลูกได้ตามความต้องการ

แต่ปัญหาต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้น เช่น การค้ามนุษย์ การบกพร่องทางสติปัญญา ความอันตรายต่อแม่และเด็กความผิดปกติของยีนส์  ฯลฯ

กลุ่มคนที่นิยมในเรื่องนี้ ได้แก่ ผู้หญิงมีลูกยาก , ผู้หญิงที่อายุมากกว่า 40 ปี แต่เพิ่งแต่งงาน , คู่รักเลสเบี้ยน , คู่รักเกย์ ฯลฯ

การอุ้มบุญในประเทศไทยจึงเติบโตในอัตราค่อนข้างสูง  เช่นเดียวกับ การรับบุตรบุญธรรม ที่มีข้อดีข้อเสีย ช่องโหว่ของกฎหมายรับบุตรบุญธรรม  

ล่าสุด กรม สบส.จัดอบรมระบบรายงานข้อมูลการให้บริการอุ้มบุญ แก่ผู้แทน รพ./คลินิก 90 แห่ง ร่วมพัฒนาฐานข้อมูล ขับเคลื่อนนโยบายระดับประเทศ

ทันตแพทย์อาคม ประดิษฐสุวรรณ รองอธิบดีกรม สบส.เปิดประชุมเชิงปฏิบัติการ

“ระบบฐานข้อมูลและการรายงานข้อมูลการให้บริการเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์” 

โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้สถานพยาบาลที่ให้บริการเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ ทั้งรัฐและเอกชน ที่มีอยู่ 90 แห่งทั่วประเทศ  

สามารถรายงานข้อมูลการให้บริการเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ตามที่กฎหมายกำหนด ผ่านระบบโปรแกรมฐานข้อมูลและพัฒนา

เป็นสรุปรายงานระดับประเทศ (National Summary Report) เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาพัฒนาในเชิงนโยบายต่อไป

ทั้งนี้ เมดฮับ นิวส์ medhubnews.com เว็บไซต์ข่าวสุขภาพ  สาธารณสุข การท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพ วาไรตี้ รายงานว่า กลุ่มผู้หญิงมีลูกยาก , ผู้หญิงที่อายุมากกว่า 40 ปี แต่เพิ่งแต่งงาน 

คู่รักเลสเบี้ยน , คู่รักเกย์ ฯลฯ อยากให้ทาง กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (กรม สบส.) กระทรวงสาธารณสุข  มีความชัดเจน และ ผ่อนปรน

โดยเฉพาะในช่วงนี้  เดือนมิถุนายน ทั่วโลกฉลอง Pride Month หรือ เดือนแห่งความภาคภูมิใจของกลุ่มหลากหลายทางเพศอย่างเป็นทางการ 

สำหรับ การอุ้มบุญมีอยู่สองประเภท  อุ้มบุญแท้ ( Full suroogacy หรือ Traditional surrogacy) คือการใช้น้ำเชื้อจากฝ่ายชายของคู่ที่ต้องการมีบุตร ผสมกับไข่ของแม่ผู้อุ้มบุญ และฉีดฝังในมดลูกของคุณแม่อุ้มบุญ  

จะเห็นได้ว่าไม่มีกระบวนการใดเกี่ยวข้องทางชีวภาพกับคุณแม่หรือคุณภรรยาตัวจริงของคุณพ่อที่ต้องการมีบุตรเลย อาจเนื่องมาจากคุณภรรยาผ่าตัดนำรังไข่ออกไป หรือมีปัญหารังไข่ไม่สามารถผลิตไข่ที่สมบูรณ์ได้ คุณแม่ผู้อุ้มบญแท้คือผู้ที่ให้ทั้งไข่และมดลูก

และ การอุ้มบุญเทียม ( Partial surrogacy หรือ Gestational carrier ) คือการที่ใช้น้ำเชื้อและไข่จากคู่คุณพ่อคุณแม่ที่แท้จริง แล้วจึงฝากไข่ที่รับการผสมเรียบร้อยแล้วเข้าไปในตัวของคุณแม่อุ้มบุญ

คุณแม่อุ้มบุญเหล่านี้ จะทำหน้าที่เป็นผู้ตั้งครรภ์แทนจนกว่าทารกจะคลอดออกมา ในกรณีนี้เด็กทารกจะไม่มีความเกี่ยวข้องทางพันธุกรรมใด ๆ กับคุณผู้อุ้มบุญเลย

แม่อุ้มบุญทำหน้าที่เป็นเพียงผู้ให้ยืมมดลูกเท่านั้น ซึ่งปัจจุบันการอุ้มบุญเทียมเป็นทางเลือกได้รับความนิยมมากกว่าการอุ้มบุญแบบแรก


08 สิงหาคม 2563

ผู้ชม 9019 ครั้ง

Engine by shopup.com