เต๋า ศุภกิตติ์ ศิริวงศ์ ศิษย์เก่า คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล ไขข้อสงสัย ความก้าวหน้าของวิชาชีพ นักเทคนิคการแพทย์
เต๋า ศุภกิตติ์ ศิริวงศ์ ศิษย์เก่า คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล ไขข้อสงสัย ความก้าวหน้าของวิชาชีพ นักเทคนิคการแพทย์
เต๋า ศุภกิตติ์ ศิริวงศ์ ศิษย์เก่า คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล ปัจจุบันเป็นนักเทคนิคการแพทย์ เอ็มพี กรุ๊ป ไขข้อสงสัย ความก้าวหน้าของวิชาชีพ นักเทคนิคการแพทย์
News Update : หลังจาก ศูนย์บริการสุขภาพ ที่เกิดจากความร่วมมือระหว่าง คณะสหเวชศาสตร์ ธรรมศาสตร์ กับ บริษัท เอ็มพี กรุ๊ป ประเทศไทย จำกัด
คว้าใบรับรองความสามารถ ห้องปฏิบัติการตามมาตรฐาน ISO 15189:2012 และ 15190:2003 ตามที่เรานำเสนอข่าวใน เว็บไซต์ เมดฮับ นิวส์ medhubnews.com
ข่าวที่เกี่ยวข้อง : ทำความรู้จัก คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
-ศูนย์บริการสุขภาพ คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
งานนี้ต้องบอกว่า เป็นความก้าวหน้าของ ภาควิชาเทคนิคการแพทย์ คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่มีห้องแล็ป ได้มาตรฐานสากลของงานทางด้านห้องปฏิบัติการทางการแพทย์
ปัจจุบันมี รศ.ดร. ไพลวรรณ สัทธานนท์ คณบดีคณะสหเวชศาสตร์ เป็นเจ้าภาพ ในนามของศูนย์บริการสุขภาพ คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
-ประชาชนทำไมไม่รู้จัก นักเทคนิคการแพทย์
เว็บไซต์ medhubnews.com ข่าวสังคม สุขภาพ สาธารณสุข ท่องเที่ยว วาไรตี้ และ เพจ sasook รายงานว่า ผู้อ่านหลายๆ ท่าน อยากทราบว่า งานเทคนิคการแพทย์ เป็นงานบริการในโรงพยาบาล จริงๆ เหรอ ?
หรือ งานมันอยู่ตรง ? อยู่ส่วนไหน ของสถานพยาบาล ? หรือ มีประโยชน์ต่อประชาชน เกี่ยวข้องอย่างไรกับการรักษาคนไข้
เพราะเวลาไปโรงพยาบาล ไม่เคยเห็น นักเทคนิคการแพทย์ มาคอยบริการผู้ป่วยเลย มีแต่หมอ กับ พยาบาล มาคอยดูแลห่วงใย
เต๋า ศุภกิตติ์ ศิริวงศ์
เรื่องนี้ หนุ่มเต๋า ศุภกิตติ์ ศิริวงศ์ นักเทคนิคการแพทย์ ศิษย์เก่า คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล ปัจจุบันทำงานกับ บริษัท เอ็มพี กรุ๊ป ประเทศไทย จำกัด ระบุถึง นักเทคนิคการแพทย์ คืออะไร ?
ข่าวที่เกี่ยวข้อง : มาทำความรู้จัก ภาควิชารังสีเทคนิค คณะเทคนิคการแพทย์ มหิดล
นักเทคนิคการแพทย์ Medical technologist หรือ Medical laboratory technologist หรือ Medical Laboratory Scientist ผู้ประกอบวิชาชีพทางการแพทย์ ที่ปฏิบัติงานด้านการตรวจทางเทคนิคการแพทย์ ภายในห้องปฏิบัติการทางการแพทย์
หรือ ห้องปฏิบัติการเวชศาสตร์ชันสูตร เป็นตำแหน่งดูแลและให้บริการทางการแพทย์ ตามพระราชบัญญัติวิชาชีพเทคนิคการแพทย์ พ.ศ. 2547 ได้ให้ความหมายของวิชาชีพเทคนิคการแพทย์ไว้ว่า
เป็นวิชาชีพที่กระทำต่อมนุษย์เพื่อให้ได้สิ่งตัวอย่างทางการแพทย์ และการดำเนินการโดยวิธีทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในการตรวจ ทดสอบ วิเคราะห์ วิจัย และการรายงานผลการตรวจ เพื่อวินิจฉัย
การติดตามการรักษา การพยากรณ์โรค และการป้องกันโรค หรือเพื่อประเมินภาวะสุขภาพ และใช้คำนำหน้านามว่า ทนพ.หรือ ทนพญ. นำหน้าชื่อสกุล
-หน้าที่ของ นักเทคนิคการแพทย์
เวลาที่เราไปโรงพยาบาล หากจะต้องตรวจโรค แพทย์จะสั่งให้คนไข้เก็บตัวอย่างปัสสาวะ อุจจาระ หรือการเจาะเลือดผู้ป่วย ซึ่งเป็นหน้าที่ของ นักเทคนิคการแพทย์
โดย เลือด ปัสสาวะ อุจจาระ ได้ถูกส่งต่อมา แผนกเทคนิคการแพทย์ เราจะมีหน้าที่ในกระบวนการตรวจสอบคุณภาพก่อนการวิเคราะห์
จะทำการตรวจสอบชื่อและสิ่งส่งตรวจของผู้ป่วยว่าเป็นคนเดียวกัน และคุณภาพของสิ่งส่งตรวจว่าเหมาะสม
ใช้กระบวนการเก็บที่ถูกต้องสำหรับนำมาทดสอบทางห้องปฏิบัติการหรือไม่ เนื่องจากสิ่งส่งตรวจที่ไม่เหมาะสมจะมีผลต่อการผลทดสอบ
และหากไม่ได้คุณภาพ ต้องทำการปฏิเสธ สิ่งส่งตรวจเพื่อให้เจ้าหน้าที่จัดเก็บ หรือนักเทคนิคการแพทย์ที่รับผิดชอบได้ทำการจัดเก็บใหม่ต่อไป
หลังจากนั้น จะนำสิ่งส่งตรวจไปทำการตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการทางการแพทย์เพื่อวินิจฉัย พยากรณ์ ติดตาม หรือประเมินสุขภาวะของผู้เข้ามารับบริการ ซึ่งจะรายงานผลให้แก่แพทย์หรือผู้ป่วยได้ทราบต่อไป
- ผู้เชี่ยวชาญด้านผลิตภัณฑ์เครื่องมือ น้ำยาทางการแพทย์
นอกจากนั้น นักเทคนิคการแพทย์ ต้องควบคุมคุณภาพต่าง ๆ ภายในห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ อาทิเช่น การควบคุมคุณภาพของการรับสิ่งส่งตรวจ ขั้นตอนระหว่างการทดสอบ และตรวจสอบความถูกต้องของผลทดสอบ
โดยปกติ เทคนิคการแพทย์จะทำการลงชื่อเพื่อรับรองผลการทดสอบทุกครั้งก่อนรายงานผลทางห้องปฏิบัติการ
สำหรับน้องๆ นักศึกษา นักเรียน ที่สนใจ แต่ยังไม่ทราบ วิชาชีพ เทคนิคการแพทย์ อยากบอกว่าเป็นวิชาชีพที่ขาดแคลนต้องการคนเก่งๆ จำนวนมาก เราสามารถทำงานในห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ทั้งในภาครัฐและเอกชน
นอกจากนี้ ยังสามารถทำงานอย่างอื่นได้ เช่น เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านผลิตภัณฑ์เครื่องมือและน้ำยาทางการแพทย์
งานเทคนิคการแพทย์ อยู่ตรงไหน ? ส่วนไหน ของสถานพยาบาล ?
ในยุค 2022 งานเทคนิคการแพทย์ ได้เปลี่ยนแปลงไปจากอดีตอย่างสิ้นเชิง ไม่ใช่คนที่นั่งก้มหน้าก้มตาทำงานตั้งแต่เช้าจรด ค่ำมืด ดึกดื่น อยู่แค่ในห้องปฏิบัติการเทคนิคการแพทย์ หรือ “ห้องแล็บ” เท่านั้น
ศักยภาพนักเทคนิคการแพทย์ มีมากกว่าหลายเท่า ที่ผ่านมาประชาชนแทบจะไม่มีโอกาสได้เจอ แต่สมัยนี้ นักเทคนิคการแพทย์ ได้เดินออกจากห้องแล็บไปสัมผัสชาวบ้านถึงชุมชนแล้ว
งานเทคนิคการแพทย์ เราเรียนมารอบด้าน สามารถรออกแบบระบบสุขภาพ รวมทั้งจัดสรร บุคลากร งบประมาณ อุปกรณ์ ยาเวชภัณฑ์ ความรู้และบริการทางการแพทย์
ผ่านระบบการให้บริการทั้งในระดับบุคคล ครอบครัว ชุมชน สังคม ทำให้นักเทคนิคการแพทย์มีโอกาสได้ก้าวออกจากห้องแล็บ ไปสู่ชุมชนมากขึ้น
นักเทคนิคการแพทย์ เงินเดือน ? เทคนิคการแพทย์ ตกงานไหม ?
สำหรับ วิชาชีพ นักเทคนิคการแพทย์ ในภาครัฐจะเป็นไปตามโครงสร้างกรอบเงินเดือนข้าราชการ พนักงานราชการ ลูกจ้าง
แต่ นักเทคนิคการแพทย์ เงินเดือน ? ในภาคเอกชนจะอยู่ระหว่าง 25, 000 บาท จนถึง 65,000 บาท ตามประสบการณ์
ซึ่งศูนย์บริการสุขภาพ ที่เกิดจากความร่วมมือระหว่าง คณะสหเวชศาสตร์ ธรรมศาสตร์ บริษัท เอ็มพี กรุ๊ป ประเทศไทย จำกัด ก็ใช้ นักเทคนิคการแพทย์ ทำงานบริการชุมชน ประชาชน สังคม
โดยไม่ต้องไปโรงพยาบาลเพื่อรอคิวตรวจนานๆ เหมือนยุคเก่าแล้ว !
ข่าวที่เกี่ยวข้อง : คณะสหเวชศาสตร์ มธ. - เอ็มพี กรุ๊ป ร่วมมือจนได้ห้องแล็บ มาตรฐาน
23 ธันวาคม 2565
ผู้ชม 6945 ครั้ง