โกงบัตรทอง คลินิกชุมชนอบอุ่น แก้ปัญหาไม่ถูกจุด ซิกแซกหาเงินเอง โกงงบบัตรทอง 72 ล้าน เวรกรรมที่ 18 คลินิก ต้องเข้าสู่กระบวนการ ปปช.
โกงบัตรทอง คลินิกชุมชนอบอุ่น แก้ปัญหาไม่ถูกจุด ซิกแซกหาเงินเอง โกงงบบัตรทอง 72 ล้าน เวรกรรมที่ 18 คลินิก ต้องเข้าสู่กระบวนการ ปปช.
โกงบัตรทอง , งบเหมาจ่ายรายหัว สปสช 2563 , สปสช - News Update วันเสาร์ที่ 4 กรกฏาคม 2563 : หลังจาก มีข่าว โคตรโกง งบบัตรทอง 72 ล้าน ในคลินิกชุมชนอบอุ่น ทั้ง 18 แห่ง
ซึ่งแน่นอนว่าการทำผิดหลักเกณฑ์จะมีการดำเนินคดีอาญา บริษัทเอกชน 14 แห่ง ที่เป็นเจ้าของ รวมทั้งเจ้าหน้าที่รัฐ ต้องเข้าสู่กระบวนการ ปปช.ต่อไป
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง : โคตรโกง งบบัตรทอง 72 ล้าน แฉรายชื่อ คลินิกชุมชนอบอุ่น ทั้ง 18 แห่ง พบบริษัทเอกชน 14 แห่ง เป็นเจ้าของ เตรียมปิด ดำเนินคดี เพิกถอนใบอนุญาต
ทั้งนี้ ประชาชนที่ใช้สิทธิ์บัตรทอง ในกทม. ไม่มีโอกาสเดินทางไปรักษาตามโรงพยาบาลที่ปรากฏในสิทธิทันที เพราะมีการกระจายประชากรผู้มีสิทธิไปยังหน่วยบริการปฐมภูมิ
แต่ใครที่มีประสบการณ์ใช้สิทธิบัตรทอง จะไม่ทราบเลยว่า ต้องไป คลินิกชุมชนอบอุ่น ก่อน ซึ่งหากเจอเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลก็อาจไล่ไปคลินิกชุมชนอบอุ่น แทน บางคนถึงกับสับสน งงว่าจะไปทำไมให้เสียเวลา
นพ.ศักดิ์ชัย กาญจนวัฒนา เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.)
medhubnews.com เว็บไซต์สุขภาพ และ เพจ sasook รายงานว่า อย่างไรก็ตาม ทาง สปสช. ใจดี หากโทรไปถาม 1330 เจ้าหน้าที่จะบอกว่า กรณีประชาชนไม่ทราบข่าวการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว อนุโลมให้ประชาชนสามารถใช้บริการได้ที่โรงพยาบาล 1 ครั้ง
จากนั้น เจ้าหน้าที่ สปสช. สายด่วน 1330 ซึ่งไม่ใช่ เจ้าหน้าที่โรงพยาบาล ที่ปล่อยปละละเลย ขี้เกียจตอบคำถาม โดย สายด่วน 1330 จะแจ้งสิทธิใหม่ให้ทราบ เพื่อไปใช้บริการที่หน่วยบริการปฐมภูมิในครั้งต่อไป
จุดนี้ประชาชน ชาวบ้าน ได้รับความเดือดร้อนมากมาย เพราะเจ้าหน้าที่โรงพยาบาล ไล่ให้ไป คลินิกชุมชนอบอุ่น เลย
สำหรับ เหตุผลในการ ตั้งคลินิกชุมชนอบอุ่น ก็คล้ายๆ ต่างจังหวัดที่ต้องไป รพ.สต.หรือ โรงพยาบาลชุมชนก่อน เพื่อลดความแออัดในแผนกผู้ป่วยนอก ลดการรอคิวของผู้ป่วย
จากข้อมูลพบว่า ผู้ป่วยส่วนใหญ่โรคเรื้อรัง หรือ เป็นโรคพื้นฐานที่หน่วยบริการปฐมภูมิสามารถดูแลรักษาได้ จึงมุ่งเน้นให้ผู้ป่วยเดินทางสะดวกเข้าถึงบริการใกล้บ้านใกล้ใจ รักษาใกล้บ้าน
ขณะที่โรงพยาบาลจะได้เพิ่มศักยภาพในการรักษาโรคที่มีความซับซ้อน ซึ่งต้องการการรักษาระดับทุติยภูมิหรือตติยภูมิได้มากขึ้น
นายแพทย์ วีระพันธ์ ลีธนะกุล ผู้อำนวยการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เขต 13 กรุงเทพมหานคร (กทม.) รับผิดชอบ “คลินิกชุมชนอบอุ่น”
โดย สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ร่วมกับกรุงเทพมหานคร พัฒนารูปแบบการจัดบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิที่ทั้งใกล้บ้านและใกล้ใจเพื่อแก้ปัญหานี้
การดำเนินการในระยะแรกในเขตพื้นที่ของกรุงเทพมหานครนั้น ก็ได้ประกาศให้โรงพยาบาล หรือคลินิกที่มีอยู่แล้ว เข้าร่วมโครงการด้วยความสมัครใจ
หรือให้กลุ่มผู้ประกอบวิชาชีพที่สนใจ ยื่นคำขออนุญาตจัดตั้งเป็น คลินิกชุมชนอบอุ่น ภายใต้เงื่อนไขตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง คุณสมบัติ มาตรฐานหน่วยบริการและเครือข่ายของหน่วยบริการ
รวมทั้งการจัดเครือข่ายของหน่วยบริการ ตามระเบียบว่าด้วยหลักประกันสุขภาพ ลงวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2544 เป็นสำคัญ
ทั้งนี้ก็ต้องผ่านความเห็นชอบในด้านความเหมาะสมเรื่องทำเล ที่ตั้งจากคณะอนุกรรมการบริหารงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สาขากรุงเทพมหานครด้วย
คลินิกชุมชนอบอุ่น ใน กทม.มีประมาณ 190 แห่ง ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะเป็นโรคเรื้อรัง ผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรคเรื้อรังระบบทางเดินหายใจ และโรคเรื้อรังอื่นๆ
คลินิกชุมชนอบอุ่น จำนวนมาก ได้ดำเนินการบริการประชาชนมาตลอดระยะเวลาด้วยความมุ่งมั่น ตั้งใจ และพัฒนาระบบบริการให้เกิดความพึงพอใจแก่ประชาชนเมื่อมาเข้ารับบริการ และจะเป็นสถานบริการที่เป็นดั่งผู้ดูแลสุขภาพของประชาชนอย่างใกล้ชิด ตามหลักการของ “คลินิกชุมชนอบอุ่น”
แต่ในปี 2561 มีการตรวจพบกลไกการทุจริตในพื้นที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เขต 13 กรุงเทพมหานคร โดยพบว่า มีคลินิก 18 แห่ง เบิกจ่ายเงินกว่า 74 ล้านบาทเศษ ทั้งที่ไม่ได้มีการตรวจโรคให้กับประชาชนจริง
ต่อมา สปสช.เขต 13 ได้ตรวจสอบพบข้อเท็จจริงเรื่องดังกล่าว แต่จนถึงปี 2563 ไม่ได้รับการแก้ไขปัญหา โดยเบื้องต้นมีการเรียกเก็บเงินคืนจากคลินิกเหล่านี้
แต่การทำผิดได้เกิดขึ้นแล้ว จึงต้องดำเนินคดี ลงโทษต่อไป
หากจะบอกว่า พวกนี้คือกลุ่มเกาะกินงบประมาณของประชาชน และประชาชนไม่รู้ตัวว่า สิทธิ์ของตัวเองถูกขโมยไป และเอาไปเบิกจ่ายเงินในโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า
ประเด็นนี้คงจะเป็นเรื่องใหญ่ เพราะมีการนำเสนอเรื่องเข้าคณะกรรมาธิการ ป.ป.ช. เพื่อตรวจสอบอย่างละเอียดลึกซึ้งต่อไป เพื่อไม่ให้ขบวนการนี้ยืนอยู่บนผืนแผ่นดินไทยได้อีก
ดังนั้น การกระทำโดยพละการ ย่อมส่งผลต่อระบบธรรมาภิบาล good governance ที่กระทรวงสาธารณสุข มีปัญหามาตลอด เช่น การตกแต่งตัวเลขเพื่อเบิกเงินจากทาง สปสช.ในส่วนของบริการส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรค
ระเบียบได้กำหนดมาให้ งบประมาณเหมาจ่ายรายหัวแบ่งคราวๆ เป็น 2 ส่วน คือ 1.หมวดค่ารักษาพยาบาลเพื่อตรวจรักษาโรค และ 2.หมวดส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค ซึ่งจะจ่ายตามผลงาน
แต่การหาทางออก โดยอ้างว่า คลินิกชุมชนอบอุ่นร้องจะเจ๊ง แล้วจัดการเกลี่ยเงินข้ามหมวดแบบนี้ จึงไม่ใช่แนวทางที่ถูกต้อง
แม้ว่า คลินิกชุมชนอบอุ่น จะเกิดปัญหาภาระค่าใช้จ่าย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการส่งต่อ ในโรงพยาบาลแม่ข่าย
เรื่องนี้ เป็นหน้าที่ของ บอร์ด สปสช.ที่จะพิจารณา ออกกฎระเบียบ เพราะเงินแต่ละหมวดมีกติกาในการใช้ตามกฎหมาย
เช่น กรณี นพ.การุณย์ คุณติรานนท์ รองเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ลงพื้นที่นวมินทร์คลินิกเวชกรรม สาขารามอินทรา กม.8
เพื่อเยี่ยมชมการดำเนินงานโครงการนำส่งยาให้ผู้ป่วยที่บ้านในช่วงการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด-19
คลินิกชุมชนอบอุ่น อย่าง ซึ่งนวมินทร์คลินิกเวชกรรม ทำไมจึงอยู่ได้ ? ไม่ต้องทุจริตเงิน โดย นางอรุณี การะเกตุ รองผู้อำนวยการโรงพยาบาลนวมินทร์ ระบุว่า ภาพรวมโรงพยาบาลนวมินทร์มีผู้ป่วยโรคเรื้อรังประมาณ 4,000 คน โดยมีคลินิกเครือข่าย 13 แห่ง
ซึ่งนวมินทร์คลินิกเวชกรรมก็เป็นหนึ่งในนั้น สามารถทำงานได้ โดยไม่ต้อง ซิกแซกหาเงิน เหมือน 18 คลินิกชุมชนอบอุ่น
จนเกิดข่าวทำให้เสียภาพลักษณ์ กระทรวงสาธารณสุข ระบบปฐมภูมิ บุคลากรทางการแพทย์ คลินิกชุมชนอบอุ่น บัตรทอง ระบบสุขภาพ
เพราะคำว่า โคตรโกง งบบัตรทอง 72 ล้าน มันเกิดขึ้นไปแล้ว ความผิดเกิดขึ้น บริษัทเอกชน 14 แห่ง ที่เป็นเจ้าของ รวมทั้งเจ้าหน้าที่ต้องเข้าสู่กระบวนการ ปปช.ต่อไป
20 กรกฎาคม 2563
ผู้ชม 4234 ครั้ง