แพทย์ชี้ โรคไขกระดูกบกพร่อง กรณีไม่รุนแรง อยู่ได้เกิน 6 ปี รักษาแบบประคับประคอง แต่หากโรคกลายเป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลัน อยู่ได้ 5 เดือน

บทความ

แพทย์ชี้ โรคไขกระดูกบกพร่อง กรณีไม่รุนแรง อยู่ได้เกิน 6 ปี รักษาแบบประคับประคอง แต่หากโรคกลายเป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลัน อยู่ได้ 5 เดือน

News Update วันจันทร์ที่ 13 กรกฎาคม 2563  : หลังจากเราได้นำเสนอ บทความ เกี่ยวกับอาการป่วยโรคไขกระดูกบกพร่อง หรือ MDS ของ นิ้ง กุลสตรี หรือ กุลสตรี​ ศิริพงษ์ปรีดา อดีตนางเอกอันดับต้นๆ ของไทยในยุค 90 

คลิ๊กอ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง : แฟนละครยุค 90 เป็นห่วงมาก นิ้ง กุลสตรี อดีตนางเอกสาว อัพเดทอาการป่วย โรคไขกระดูกบกพร่อง ยิ่งต้องจับตาใกล้ชิด 

ล่าสุด เว็บ เมดฮับ นิวส์ medhubnews.com เว็บไซต์ข่าวสุขภาพ  สาธารณสุข การท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพ วาไรตี้  รายงานว่า แพทย์จาก โรงพยาบาลเลิดสิน แจงว่า ไขกระดูกบกพร่อง หรือ MDS

โดย ไขกระดูก จะอยู่บริเวณแกนกลางของของกระดูกชิ้นใหญ่ทั่วร่างกาย มีหน้าที่สร้างเม็ดลือดทุกชนิด

ได้แก่ เม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว และเกร็ดเลือดโดยภาวะปกติไขกระดูกจะสร้างเม็ดเลือดออกมาตลอดเวลา

กลุ่มอาการไขกระดูกบกพร่องหรือ MDS เป็นกลุ่มโรคที่เกิดจากความผิดปกติของไขกระดูกทำให้ไม่สามารถสร้างเม็ดเลือดออกมาได้

ส่วนใหญ่พบในคนไข้ที่อายุมากกว่า 60 ปี และพบได้น้อยมากในคนไข้ที่อายุน้อยกว่า 40 ปี เมื่อร่างกายไม่สามารถสร้างเม็ดเลือดชนิดต่างๆได้จะเกิดความผิดปกติ

ได้แก่ โลหิตจางทำให้มีอาการซีด เม็ดเลือดขาวทำให้ร่างกายภูมิคุ้มกันลดลง เกร็ดเลือดต่ำทำให้เลือดออกง่าย

ด้าน นายแพทย์สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ ระบุถึงอาการไขกระดูกบกพร่อง ส่วนหนึ่งเกิดได้เองโดยไม่มีสาเหตุชัดเจน

อีกส่วนหนึ่งเกิดหลังจากผู้ป่วยเคยได้รับยาเคมีบำบัดหรือการฉายรังสีมาก่อนในอดีต หรือได้รับสารเคมีบางอย่าง เช่น เบนซีน

อย่างไรก็ตาม กลุ่มโรคไขกระดูกบกพร่องนี้ไม่ได้เป็นโรคที่ติดต่อทางพันธุกรรม จึงไม่ติดต่อสู่คนในครอบครัว

การดำเนินโรค ( ตามหลักวิชาการ ) กรณีที่โรคเป็นไม่รุนแรง จะมีอัตราการรอดชีวิตอยู่ได้เกิน 6 ปี เริ่มจากสร้างเม็ดเลือดตั้งแต่ 1-3 ชนิดได้น้อยลงจนมีอาการโลหิตจาง เม็ดเลือดขาวต่ำและเกร็ดเลือดต่ำ

หลังจากนั้นประมาณ 1 ใน 3 ของผู้ป่วยจะมีการพัฒนาของ โรคกลายเป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลัน ได้ซึ่งเป็นชนิดรุนแรง มีอัตราการรอดชีวิตอยู่ที่ประมาน 5 เดือน

นายแพทย์ศักรินทร์ วงศ์เลิศศิริ ผู้อานวยการโรงพยาบาลเลิดสิน กรมการแพทย์ กล่าวว่า การรักษาในกรณีที่โรคเป็นไม่รุนแรงและไม่ได้เป็นมะเร็งเม็ดเลือดขวาเฉียบพลัน

โดยทั่วไปจะให้การรักษาโดยให้เลือด เกร็ดเลือด และยาฉีดกระตุ้นเม็ดเลือดขาวหรือเม็ดเลือดแดงขึ้น กับชนิดของเม็ดเลือดผู้ป่วยที่ต่ำ

ซึ่งเป็นการรักษาแบบประคับประคอง แต่ในกรณีที่โรคเป็นรุนแรงหรือเริ่มกลายเป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลัน การรักษาคือการปลูกถ่ายไขกระดูกหรือปลูกถ่ายสเต็มเซลล์ ซึ่งสามารถทำให้หายขาดได้

อย่างไรก็ตาม จะสามารถทำได้เฉพาะผู้ป่วยบางรายเท่านั้น ในกรณีที่ไม่สามารถปลูกถ่ายไขกระดูกได้ อาจให้ยากลุ่มเคมีบำบัดแบบฉีดบางชนิด

ร่วมกับการรักษาแบบประคับประคองเพื่อให้เม็ดเลือดกลับมาใกล้เคียงกับปกติมากที่สุด

13 กรกฎาคม 2563

ผู้ชม 5740 ครั้ง

Engine by shopup.com