สปสช.ทิ้งระเบิด ให้รัฐบาล ชุดใหญ่ แถลง แจงไม่เคลียร์ ปมเลิกสัญญา คลินิกอบอุ่นในกทม จนโซเชี่ยลเดือดเป็นไป เข้าใจผิดว่า #ยกเลิกบัตรทอง

บทความ

สปสช.ทิ้งระเบิด ให้รัฐบาล ชุดใหญ่ แถลง แจงไม่เคลียร์ ปมเลิกสัญญา คลินิกอบอุ่นในกทม จนโซเชี่ยลเดือดเป็นไฟ เข้าใจผิดว่า #ยกเลิกบัตรทอง

#ยกเลิกบัตรทอง, ยกเลิกบัตรทอง, #บัตรทอง, #บัตรทอง โกง, โกงบัตรทอง, สปสช.ไม่เคลียร์ 

เว็บไซต์สุขภาพ วาไรตี้ สังคม ท่องเที่ยว - สปสช.ทิ้งระเบิด ให้รัฐบาล ชุดใหญ่ แถลง แจงไม่เคลียร์ ปม #ยกเลิกบัตรทอง ประชาชนเข้าใจผิด ทั้งๆ เข้ารับบริการที่ไหนก็ได้ทุกแห่ง ทั้งรัฐและเอกชน 

หลังจาก เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เรียกประชุมผู้บริหารสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ( สปสช. ) และฝ่ายความมั่นคง

เพื่อหารือความคืบหน้ากรณที่ สปสช.ดำเนินการเอาผิดและลงโทษผู้ประกอบการคลินิกชุมชนอบอุ่นหลายแห่ง ซึ่งเบิกเงินจาก สปสช.เกินค่าบริการจริง ซึ่งถือเป็นการทุจริต

News Update วันศุกร์ที่ 18 กันยายน 2563 - ข่าวล่าสุดวันนี้ - นพ.การุณย์ คุณติรานนท์ รองเลขาธิการสปสช. พร้อมด้วย ทพ.อรรถพร ลิ้มปัญญาเลิศ รองเลขาธิการสปสช.

แถลงความคืบหน้า ทุจริตคลินิกสวมสิทธิ์บัตรทองว่า ขณะนี้จากการตรวจคลินิกเพิ่มเติมพบ มีคลินิก 66 แห่ง

กระทำการทุจริต ทำผิดสัญญา และมีการสวมสิทธิ์ประชาชน ทำให้ต้องยกเลิกสัญญาและปิดหน่วยบริการ ซึ่งจะมีประชาชนได้รับผลกระทบ 8 แสนคน

โดยความผิดนี้แม้จะเล็กน้อย แต่ระยะยาวกระทบต่อประชาชนแน่นอน เพราะการสวมสิทธิ์เข้ารับบริการ

ทำให้ประชาชนไม่ได้รับการตรวจคัดกรองเบาหวาน ความดันโลหิต และยังมีผลต่อองค์กรในเรื่องงบประมาณการเบิกจ่าย

นพ.การุณย์ กล่าวว่า ส่วนการแก้ไขปัญหาประชาชนถูกยกเลิกบริการนี้ ระหว่างนี้สามารถไปรับบริการที่ไหนก็ได้ทุกแห่งในกทม. ทั้งรัฐและเอกชน ที่ร่วมกับสปสช. โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

ขณะเดียวกันประสาน กทม.เร่งจัดหาหน่วยบริการทดแทน โดยสปสช. และกทม.ได้รวบรมรายชื่อประชาชนที่ได้รับผลกระทบ 8 แสนคนไว้เรียบร้อย อยู่ระหว่างการติดต่อ เพื่อขึ้นทะเบียนและจัดหาหน่วยบริการใหม่ให้

ซึ่งประชาชนหากสงสัยสอบถามได้ที่หมายเลข 1330 หรือ @ LINE 1330_2 ส่วนการหาผู้ประกอบการรายใหม่มาทดแทนนั้น คาดว่าต้องระยะเวลาอีกระยะอยู่ระหว่างการตรวจสอบข้อมูล และเชิญชวนผู้ประกอบการรายใหม่เข้ามาเป็นหน่วยบริการ

สำหรับคลินิกที่พบทุจริตนี้ จำนวน 66 แห่ง แบ่งเป็นคลินิกเวชกรรม 53 แห่ง. คลินิก ,ทันตกรรม 3 แห่ง และ รพ. 10 แห่ง โดยก่อนหน้านั้นมีคลินิกที่ถูกยกเลิกไปแล้ว 18 แห่ง. รวม. 84 แห่ง

ขณะเดียวอยู่ระหว่างการ ตรวจสอบในคลินิก 107 แห่ง ว่าจะมีความผิดหรือปิดหน่วยบริการหรือไม่

สำหรับกลุ่มผู้ป่วยที่มีความสำคัญเร่งด่วนในการจัดหน่วยบริการ เน้นใน 3 กลุ่มหลักได้แก่ 1.ผู้ป่วยใน ที่มีการนัดผ่าตัด ซึ่งตรงนี้ ทาง รพ.กทม.รับไปดูแลแล้ว

2  กลุ่มหญิงตั้งครรภ์ ก็มีหน่วยบริการของกทม.เข้าไปดูแลเช่นกัน

และ 3 ผู้ป่วยฟอกไต ซึ่งถือเป็นความจำเป็นเร่งด่วน โดยสปสช.ส่งรายชื่อให้กับกทม.ร่วมดูแลแล้ว หากไม่รับการติดต่อ ขอให้ติดต่อมาที่หมายเลข 1330

ทั้งนี้หากรวมคลินิกที่ถูกยกเลิกสัญญา รวม 84 แห่ง และคาดมีประชาชนได้รับผลกระทบเกือบ 1 ล้านคน

แต่ สปสช.ได้แก้ปัญหา และ ผลกระทบไว้ล่วงหน้าแล้ว

โดยประชาชนสามารถเช็ครายชื่อหน่วยบริการถูกยกเลิกสัญญา ได้ที่ https://bkk.nhso.go.th/main/shownews.php?newsid=4664

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง : โคตรโกงงบบัตรทอง 72 ล้าน  แฉรายชื่อ คลินิกชุมชนอบอุ่น ทั้ง 18 แห่ง พบบริษัทเอกชน 14 แห่ง เป็นเจ้าของ เตรียมดำเนินคดีอาญา  

นายอนุทิน เคยแถลงเรื่องนี้ว่า สปสช.ได้แจ้งความไปแล้ว จากนี้ ขอให้เจ้าหน้าที่ตำรวจเร่งรัดเพื่อหาข้อเท็จจริง และลงโทษตามกฎหมายกำหนด อยากให้ผู้บริหารของ สปสช.ได้ตระหนักว่า เรื่องนี้ นิ่งนอนใจไม่ได้

“ท่านต้องเข้าใจว่าตอนนี้ มันมีการตรวจสอบจากฝ่ายการเมืองด้วย เท่ากับการตรวจสอบมันจะเข้มข้นขึ้นไปอีก และทาง สปสช.ต้องทำทุกอย่างให้โปร่งใส สามารถชี้แจงได้

เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ต้องซีเรียส ที่ต้องรีบตัดไฟแต่ต้นลม เพราะสังคมกำลังเกิดข้อสงสัยขึ้นมาเรื่อยๆ ตัวรัฐมนตรีเอง ก็สงสัย ผู้รับผิดชอบต้องอธิบายให้ได้

ตอนนี้มีรายงานเรื่องอดีตผู้บริหาร สปสช.ออกไปตั้งบริษัท และกลับมาหากินกับ สปสช. กลายเป็นถูกตั้งคำถามเรื่องธรรมาภิบาลใน สปสช. ขึ้นมาอีก” นายอนุทิน กล่าวและว่า ในฐานะรัฐมนตรีต้องรีบจัดการเรื่องเหล่านี้ ต้องมีการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาดูแล

สำหรับ อดีตผู้บริหาร สปสช.ที่ออกไปตั้งบริษัท และกลับมาหากินกับ สปสช. ถูกตั้งคำถามเรื่อง ธรรมาภิบาลใน สปสช. นั่น

นายอนุทิน หมายถึง นายแพทย์วินัย สวัสดิวร อดีตเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ท่านที่สอง ต่อจากนายแพทย์สงวน นิตยารัมภ์พงศ์ เลขาธิการผู้ก่อตั้ง สปสช.

เรื่องราวของ นายแพทย์วินัย สวัสดิวร ถ้านำมาเขียนในบทความนี้คงไม่หมด เพราะมีปัญหามากมาย ในขณะดำรงตำแหน่งเลขาธิการ สปสช. 2 สมัย 8 ปี เริ่มเมื่อเดือนเมษายน 2551

กระทั่ง ถูกคำสั่งมาตรา 44ของ คสช.ให้พ้นจากตำแหน่ง เป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการก่อตั้งสำนักงานหลักประกันสุขภาพในส่วนภูมิภาค (สปสช.สาขาเขต) และเพิ่มสิทธิประโยชน์ของบัตรทอง โดยนำเงินงบประมาณจากกองทุนบัตรทองมาใช้จ่ายในเรื่องต่างๆ มากมาย  

ปัจจุบัน นายแพทย์วินัย สวัสดิวร เป็น ประธานกรรมการ บริษัท มิตรไมตรีการแพทย์ จำกัด สำนักงานใหญ่ 138/4-5 ถ.นนทบุรี ต.ท่าทราย อ.เมือง จ.นนทบุรี

มิตรไมตรีคลินิก เป็นผู้ให้บริการมาตรฐานทางการแพทย์ และสาธารณสุขในระดับปฐมภูมิ และเป็นคู่สัญญากับ สปสช. ที่ได้รับเงินงบประมาณจาก สปสช.มาดำเนินธุรกิจ

การถูกตั้งคำถามเรื่อง ธรรมาภิบาล ใน สปสช. จึงไม่ใช่เรื่องแปลก เพราะอดีตเคยริเริ่มก่อตั้ง และอนุมัติงบให้หน่วยบริการปฐมภูมิของเอกชน

แต่ปัจจุบันมานั่งเป็นประธานกรรมการบริษัทหน่วยบริการปฐมภูมิของเอกชน เอง

นายแพทย์วินัย อยู่ในช่วงที่มีการอนุมัติให้ เงินกองทุนบัตรทองสามารถจัดสรรให้บรรดา มูลนิธิต่างๆ ภาคปชช. เอกชน  

และ ยังอนุมัติให้หน่วยบริการปฐมภูมิ เครือข่ายหน่วยงานบริการ ของเอกชน สามารถทำบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค

ช่วงนั้นมีการถกเถียงกันว่า เป็นการกระทำที่ขัดกฎหมายว่าด้วยหลักประกันสุขภาพแห่งชาติหรือไม่ มี คตร.  ตีความ เห็นว่า เป็นการกระทำที่ขัดต่อ พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพฯ

การตีความเรื่อง การจ่ายเงินกองทุน งบบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค ของสปสช. สาขาจังหวัด ขัดต่อวัตถุประสงค์ตามกฎหมาย  ว่าด้วยหลักประกันสุขภาพแห่งชาติหรือไม่นั้น

คณะกรรมการกฤษฎีกา  เห็นว่า การที่สปสช. สาขาจังหวัด หรือหน่วยบริการ และเครือข่ายหน่วยบริการ ใช้จ่ายเงินกองทุนงบบริการด้านสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค เพื่อการพัฒนาหรือเตรียมบุคลากร ของหน่วยบริการหรืออาสาสมัคร

ย่อมไม่ใช่การให้บริการด้านการแพทย์ และสาธารณสุข ดังนั้นสปสช. สาขาจังหวัด หน่วยบริการ และเครือข่ายหน่วยบริการ จึงไม่อาจใช้จ่ายเงินกองทุนได้

เนื่องจากเป็นการใช้จ่ายเงินกองทุนนอกวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งกองทุน และไม่เป็นไปตาม  พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพฯ

สอดคล้องกับ คตร.  เห็นว่า  การใช้จ่ายเงินงบบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค สำหรับบริการพื้นฐานของสปสช.สาขาจังหวัด หรือหน่วยบริการ และเครือข่ายหน่วยบริการ

ที่นำเงินไปใช้ในโครงการหรือกิจกรรมต่างๆ หลายรายการ เป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่กองทุน และทำให้ประชาชนเสียโอกาสที่จะได้รับบริการที่มีคุณภาพและมาตรฐานทางการแพทย์

แต่ด้วยความที่ สปสช. อ้างเป็นหน่วยงานอิสระ เป็นองค์กรของรัฐ ตาม พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 ภายใต้การกำกับดูแลของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข

สปสช.จึงแค่รับฟัง การตีความของ คตร. และ คณะกรรมการกฤษฎีกา เท่านั้น ไม่ได้ใส่ใจและนำมาปฏิบัติตาม

จนกระทั่งวันนี้  สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ( สปสช. ) มีการทุจริต และ ท้าทายต่อธรรมาภิบาล

ที่รัฐมนตรี ต้องการเอาผิดกับ อดีตผู้บริหาร สปสช.ที่ออกไปตั้งบริษัท และกลับมาหากินกับ สปสช.

ซึ่งหวังว่า รัฐมนตรีจะเดินหน้าตรวจสอบให้เข้มข้นต่อไป จนไร้คำสงสัย สามารถตอบคำถามของสังคมได้อย่างเต็มปากว่าท่านรักษาผลประโยชน์ของประชาชนเป็นหลัก !

18 กันยายน 2563

ผู้ชม 4467 ครั้ง

Engine by shopup.com