บุหรี่เป็นอันตราย ต่อสุขภาพ ทั้งต่อผู้สูบเอง และผู้ที่อยู่ใกล้ชิดที่สูดหายใจเอาอากาศที่มีควันบุหรี่เข้าไป ข้อมูลจาก บริษัท ฟิลลิป มอร์ริส เทรดดิ้ง (ไทยแลนด์) ถือเป็นข้อมูลเท็จ
บุหรี่เป็นอันตราย ต่อสุขภาพ ทั้งต่อผู้สูบเอง และผู้ที่อยู่ใกล้ชิดที่สูดหายใจเอาอากาศที่มีควันบุหรี่เข้าไป ข้อมูลจาก บริษัท ฟิลลิป มอร์ริส เทรดดิ้ง (ไทยแลนด์) ถือเป็นข้อมูลเท็จ
สืบเนื่องด้วย กองงานคณะกรรมการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ กรมควบคุมโรค ทำหนังสือถึง กรรมการผู้จัดการ เว็บ เมดฮับ นิวส์ medhubnews.com ว่า
บุหรี่เป็นอันตราย ต่อสุขภาพ ทั้งต่อผู้สูบเอง และผู้ที่อยู่ใกล้ชิดที่สูดหายใจเอาอากาศที่มีควันบุหรี่เข้าไป
เพราะควันบุหรี่ประกอบด้วยสารที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพทั้งสิ้น เช่น คาร์บอนมอนอกไซด์ นิโคติน ทาร์ เป็นต้น จากการสำรวจพบว่า ผู้ที่เป็นมะเร็งปอดนั้น ร้อยละ 90 เป็นผลเนื่องมาจากการสูบบุหรี่
โดยอย่าตกเป็นเครื่องมือของบริษัทบุหรี่ ดังนั้น เว็บ เมดฮับ นิวส์ medhubnews.com จึงขออนุญาต ไม่เชื่อคอนเทนต์นี้ และ สนับสนุนให้เลิกบุหรี่ ทั้งบุหรี่ไฟฟ้า และ บุหรี่มวน
- องค์การอาหารและยาสหรัฐฯ อนุญาตให้ ผลิตภัณฑ์ยาสูบแบบให้ความร้อน ของ ฟิลลิป มอร์ริส ทำการตลาดในฐานะผลิตภัณฑ์ยาสูบลดความเสี่ยงได้
บุหรี่เป็นอันตราย
News Update : แม้ว่า ผลวิจัยบุหรี่ไฟฟ้า อังกฤษ , บุหรี่ไฟฟ้า วิจัย และ ผลิตภัณฑ์ยาสูบแบบให้ความร้อน
( แตกต่างจากบุหรี่ไฟฟ้า แต่ผลิตภัณฑ์ทั้งสองประเภทไม่ก่อให้เกิดการเผาไหม้ ) จะออกมาเป็นที่ประจักษ์ทั่วโลกแล้ว แต่ บุหรี่ไฟฟ้าในยุค 2020 สังคมยังไม่เข้าใจ และ ถามว่า บุหรี่ไฟฟ้าคืออะไร ?
ดังนั้นเพื่อสุขภาพของผู้สูบบุหรี่ไฟฟ้า หรือ บุหรี่ไฟฟ้า ภาษาอังกฤษ Electric cigarette จึงจำเป็นต้องศึกษา ผลวิจัยบุหรี่ไฟฟ้า และ หาข้อมูลที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริง
ล่าสุด เว็บ เมดฮับ นิวส์ medhubnews.com เว็บไซต์ข่าวสุขภาพ สาธารณสุข การท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพ วาไรตี้ รายงานว่า มร. เจอรัลด์ มาร์โกลีส กรรมการผู้จัดการ บริษัท ฟิลลิป มอร์ริส เทรดดิ้ง (ไทยแลนด์) จำกัด (“PMTT”)
บริษัทในเครือฟิลลิป มอร์ริส อินเตอร์เนชั่นแนล (พีเอ็มไอ) เปิดเผยว่า ในวันที่ 7 กรกฎาคม 2563 ที่ผ่านมา องค์การอาหารและยาประเทศสหรัฐอเมริกา หรือชื่อย่อว่า FDA
โดย FDA เป็น หน่วยงานส่วนกลางหน่วยงานหนึ่งภายใต้กระทรวงสาธารณสุขและบริการประชาชน องค์การอาหารและยาสหรัฐมีหน้าที่ปกป้องและส่งเสริมสุขภาพของประชาชน
คลิ๊กอ่านข้อมูลอ้างอิง จากวิกิพีเดีย องค์การอาหารและยาสหรัฐ , กระทรวงสาธารณสุขและบริการประชาชน , ผลิตภัณฑ์แบบให้ความร้อน
FDA อนุญาตให้ ผลิตภัณฑ์แบบให้ความร้อน ( Heated Tobacco Product ) ของพีเอ็มไอ สามารถสื่อการตลาดในฐานะผลิตภัณฑ์ยาสูบลดความเสี่ยง ( Modified Risk Tobacco Product: MRTP )
โดยการอนุญาตครั้งนี้ถือเป็นแนวทางตัวอย่างที่สำคัญในการกำกับนโยบายของภาครัฐและองค์กรสาธารณสุขต่อผลิตภัณฑ์ไร้ควัน
ที่มีความแตกต่างจากการควบคุมบุหรี่แบบซิกาแรต เพื่อปกป้องและส่งเสริมสุขภาพของประชาชน ซึ่งอาจมีประสิทธิภาพมากกว่านโยบายการห้ามจำหน่ายแบบในประเทศไทย
การพิจารณาดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าผลิตภัณฑ์ยาสูบแบบให้ความร้อนของ พีเอ็มไอ นั้นมีความแตกต่างในเชิงหลักการจากบุหรี่ซิกาแรตที่มีการเผาไหม้ และเป็นทางเลือกที่ดีกว่าสำหรับผู้สูบบุหรี่ที่เป็นผู้ใหญ่ที่ตัดสินใจจะสูบบุหรี่ต่อไป
ผลิตภัณฑ์ยาสูบแบบให้ความร้อนของพีเอ็มไอนี้ เป็นผลิตภัณฑ์อิเล็คโทรนิคส์ที่มีนิโคตินประเภทแรกและประเภทเดียวที่ได้รับอนุญาตจาก อย. สหรัฐอเมริกาให้ทำการตลาดในฐานะ ผลิตภัณฑ์ยาสูบลดความเสี่ยง
ทั้งนี้ อย. สหรัฐอเมริกาอนุญาตให้สื่อสารผลิตภัณฑ์ยาสูบแบบให้ความร้อนของ พีเอ็มไอ ด้วยข้อมูลดังต่อไปนี้ ผลิตภัณฑ์ยาสูบแบบให้ความร้อนของพีเอ็มไอเป็นการให้ความร้อนแก่ยาสูบ
แต่ไม่มีการเผาไหม้ ลดการเกิดสารเคมีที่เป็นอันตราย และอาจเป็นอันตรายได้อย่างมีนัยสำคัญ
การศึกษาทางวิทยาศาสตร์แสดงให้เห็นว่าการเปลี่ยนจากบุหรี่มวนแบบเดิมมาเป็นผลิตภัณฑ์ไร้ควันของพีเอ็มไอ สามารถลดการได้รับสารเคมีที่เป็นอันตรายและอาจเป็นอันตรายได้อย่างมีนัยสำคัญ
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง : "รัฐสภาอังกฤษ" ชี้ชัดผลวิจัยวิทยาศาสตร์ "บุหรี่ไฟฟ้า" เป็นเครื่องมือต้านบุหรี่
อย. สหรัฐอเมริกา สรุปว่า ข้อมูลสนับสนุนทางวิทยาศาสตร์ที่มีอยู่แสดงให้เห็นว่า ผลิตภัณฑ์ยาสูบแบบให้ความร้อนของพีเอ็มไอ จะมีประโยชน์ต่อสุขภาพของประชากรโดยรวม ทั้งต่อกลุ่มผู้สูบบุหรี่และผู้ไม่สูบบุหรี่
การตัดสินในครั้งนี้ยังเป็นการเพิ่มข้อสรุปของหน่วยงานทางวิทยาศาสตร์ระดับโลกที่สรุปตรงกันว่าผลิตภัณฑ์ยาสูบแบบให้ความร้อนของพีเอ็มไอ
เป็นทางเลือกที่ดีกว่าการเลือกสูบบุหรี่ โดยก่อนหน้านี้ อย. สหรัฐอเมริกาได้อนุญาตให้มีการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ยาสูบแบบให้ความร้อนของพีเอ็มไอในประเทศสหรัฐอเมริกาได้ ในเดือนเมษายน 2562
ทั้งนี้ อย. สหรัฐอเมริกาได้พิจารณา เอกสารงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่ พีเอ็มไอ ยื่นคำร้องขอเป็น ผลิตภัณฑ์ยาสูบลดความเสี่ยง ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2559
ด้าน มร. อังเดร คาลันโซโปลอส ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร พีเอ็มไอ กล่าวถึงการอนุญาตของ อย. สหรัฐอเมริกาในครั้งนี้ว่า
“การพิจารณาอนุญาตในครั้งนี้ เป็นเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ที่สำคัญในด้านสาธารณสุข ในอนาคตจะมีผู้สูบบุหรี่ชาวอเมริกันหลายสิบล้านคนเลิกสูบบุหรี่
แต่ก็จะยังมีอีกหลายคนที่สูบบุหรี่ต่อไป ดังนั้น การตัดสินใจในครั้งนี้จะเป็นการช่วยให้ผู้สูบที่เป็นผู้ใหญ่ได้รับข้อมูลว่าการเปลี่ยนมาใช้ผลิตภัณฑ์แบบให้ความร้อนของพีเอ็มไอ
เป็นทางเลือกที่ดีกว่าการสูบบุหรี่ โดย อย. สหรัฐอเมริกาได้พิจารณางานวิจัยที่แสดงให้เห็นว่าการเปลี่ยนมาใช้ผลิตภัณฑ์แบบให้ความร้อน สามารถลดการได้รับสารเคมีอันตรายและอาจเป็นอันตรายได้
ผลิตภัณฑ์ของพีเอ็มไอ แตกต่างจาก บุหรี่ที่มีการเผาไหม้ จึงควรได้รับการควบคุมที่แตกต่าง ตามที่ อย. สหรัฐอเมริกาได้กำหนดแนวทางไว้
ณ ตอนนี้ เราจึงจำเป็นต้องมีการพูดคุยกันในรูปแบบที่แตกต่างและสร้างความร่วมมืออย่างเร่งด่วนกว่าที่เคย เพื่อสร้างสังคมไร้ควัน
การตัดสินใจดังกล่าวถือเป็นตัวอย่างสำคัญในการกำกับนโยบายของรัฐและองค์กรด้านสาธารณสุขต่อผลิตภัณฑ์ไร้ควันที่มีความแตกต่างจากการควบคุมบุหรี่แบบซิกาแรตเพื่อปกป้องและส่งเสริมด้านสาธารณสุข
“เรายินดีกับคำอนุญาตครั้งสำคัญนี้ เพราะจะช่วยให้ข้อมูลสำคัญเพื่อเป็นแนวทางในการตัดสินใจของผู้สูบบุหรี่ที่เป็นผู้ใหญ่ในสหรัฐอเมริกา
และเชื่อว่า ผู้สูบบุหรี่ในประเทศไทยซึ่งมีมากกว่า 10 ล้านคน ควรได้รับสิทธิที่เท่าเทียมในการได้รับข้อมูลที่ถูกต้องและเข้าถึงผลิตภัณฑ์ทางเลือกได้
เราเชื่อมั่นว่าการอนุญาตของ อย. สหรัฐอเมริกาที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานงานวิจัย จะสร้างแรงบันดาลใจให้กระทรวงสาธารณสุข องค์กรด้านสุขภาพ ผู้วางนโยบาย ผู้ออกกฎหมาย
ได้ทบทวนเอกสารงานวิจัยของผลิตภัณฑ์แบบให้ความร้อนของ พีเอ็มไอ และวางนโยบายสำหรับผลิตภัณฑ์ไร้ควันเพื่อปกป้องสุขภาพของประชาชนไทยโดยรวม ทั้งผู้สูบบุหรี่และผู้ไม่สูบบุหรี่” มร. เจอรัลด์ กล่าว
ข้อมูลเพิ่มเติม : ผลิตภัณฑ์ยาสูบแบบให้ความร้อน ของพีเอ็มไอ ซึ่งจะไม่มีการเผาไหม้ แต่จะให้ความร้อนที่ต่ำกว่าจุดเผาไหม้แก่ใบยาสูบ กระบวนการดังกล่าวจึงแตกต่างจากบุหรี่ไฟฟ้า
ที่ผลิตไอระเหยของนิโคตินผ่านการให้ความร้อนนิโคตินเหลว โดยไม่มีใบยาสูบเป็นส่วนประกอบ อย่างไรก็ตาม ผลิตภัณฑ์ทั้งสองประเภทไม่ก่อให้เกิดการเผาไหม้
ข้อมูลจาก บริษัท ฟิลลิป มอร์ริส เทรดดิ้ง (ไทยแลนด์) ถือเป็นข้อมูลเท็จ
20 ตุลาคม 2563
ผู้ชม 2809 ครั้ง