ไฮสายควัน สายฉีด เสพยาไอซ์ แล้วมีอารมณ์ ชายรักชาย เกย์ ไบ อันตราย หากตรวจจะพบฉี่ม่วง  แต่ฉี่ม่วงไม่ได้หมายถึงเสพยาเสพติดทุกเคส   

บทความ

ไฮสายควัน สายฉีด เสพยาไอซ์ แล้วมีอารมณ์ ชายรักชาย เกย์ ไบ อันตราย หากตรวจจะพบฉี่ม่วง  แต่ฉี่ม่วงไม่ได้หมายถึงเสพยาเสพติดทุกเคส   

- แพทย์เผย ไฮสายควัน สายฉีด เสพยาไอซ์ แล้วมีอารมณ์ ชายรักชาย เกย์ ไบ อันตราย หากตรวจจะพบฉี่ม่วง  แต่ฉี่ม่วงไม่ได้หมายถึงเสพยาเสพติดทุกเคส   

News Update วันพฤหัสบดีที่ 16 กรกฎาคม 2563  : หลังจากได้นำเสนอบทความเรื่อง  อาการดาวน์ยาไอซ์ คืออะไร ไฮค้าง ยาไอซ์หมดฤทธิ์ ระบาดใน ชายรักชาย เกย์ นิยมไฮสด แตกใน เสี่ยงดื้อยาต้านไวรัสเอชไอวี  

และ กรมการแพทย์ ให้ข้อมูลเกี่ยวกับ สารเสพติด ที่พบมากคือ ยาบ้า ยาไอซ์ยาอี ยาเลิฟ นิยมในหมู่วัยรุ่น นายแบบ นางแบบ ที่ใช้สื่อสารกันในโลกออนไลน์ว่า  #น้ำแข็ง #ไฮ #คูล #Hi  #สายดีด #สายเงี่ยน #สายไฮ #hicool  #ไฮคูล #ไฮลอย #ไฮนัว #งานดีด

ไฮ คืออะไร ? คือ การเสพยาไอซ์ ที่มักจะมีอาการดีด มีอารมณ์สนุกสนานตลอดเวลาโดยไม่เหนื่อย ไม่หิว  บางคนบอกว่า เสพยาไอซ์ แล้วมีอารมณ์  ? โดยพบว่าการเสพยาไอซ์จะ มีอารมณ์ทางเพศมากขึ้น

คลิ๊กอ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง : อาการดาวน์ยาไอซ์ คืออะไร ไฮค้าง ยาไอซ์หมดฤทธิ์ ระบาดใน ชายรักชาย เกย์ นิยมไฮสด แตกใน เสี่ยงดื้อยาต้านไวรัส

ทั้ง ไฮสายควัน ไฮฉีด ที่กำลังแพร่ระบาดใน ชายรักชาย เกย์  ไบเซกซ์ชัวล์  ( ไบเซกซ์ชัวล์ คืออะไร ถ้าพูดถึง ไบเซกซ์ชัวล์  หมายถึง ผู้ชายที่ชื่นชอบผู้หญิงด้วย และ ผู้ชายด้วย สามารถมีเซ็กซ์ได้ทั้งสองเพศ )

โดย นิยมการเสพยาไอซ์ หรือ ไฮสด แตกใน   เพราะการ เสพยาไอซ์ แล้วมีอารมณ์ มากขึ้น   

การตรวจหายาและสารเสพติดในร่างกาย จะใช้การตรวจจากตัวอย่างปัสสาวะซึ่งจะได้ผลดีที่สุดและเป็นที่ยอมรับในกระบวนการยุติธรรมในระดับสากล

ขณะที่มีคำถามมาว่า ยา ที่ ไม่ใช่ยาเสพติด มีผลทำให้การตรวจปัสสาวะเป็นผลบวก หรือ ฉี่ม่วง มีอะไรบ้าง ?

และ จากระทู้ได้ถามว่า “วันนี้เสพยาไอซ์ 1วัน แล้วจะหยุดเสพ อยากทราบว่าฉี่เราจะม่วงกี่วัน ถึงจะหมดครับและมีวิธีไหนช่วยไล่สารออกจากร่างกายเร็วๆ พอมีไหมครับ” ? หรือ ยาไอซ์ อยู่ในร่างกายกี่วัน ?

วิธีขับสารแอมเฟตามีนออกจากร่างกาย  แพทย์ได้ระบุว่า ถ้าหมายถึง ยากลุ่มแอมเฟตามีน พวกยาไอซ์ ยาอี ปกติยาจะ จะมีครึ่งชีวิต รวมถึงออกฤทธิ์ประมาน 10 ชั่วโมง หมายถึงจะลดลงทีละครึ่งไปเรื่อยๆ ทุก10 ชั่วโมง  การขับออกจะขับทางปัสสาวะ

ดังนั้น การจะให้สารขับ เหล่านี้ออกได้มากขึ้น ต้องทำให้ปัสสาวะอยู่ในสภาวะเป็นกรด เช่น การรับประทานอาหารเสริมประเภท vitamin C อาจจะพอช่วยได้

นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยที่มีผลต่อปริมาณสารเสพติดในปัสสาวะ ได้แก่ น้ำหนักของผู้เสพ ปริมาณของการเสพ ระยะเวลาความถี่ของการใช้ยา

เช่น ผู้ที่เสพยาบ้า หรือ ยาไอซ์ จะสามารถตรวจพบ เมทอมเฟตามีนหรือแอมเฟตามีน ในผู้เสพที่ไม่ประจำใน 1-3 วัน หลังเสพ

และ 2-3 วัน สำหรับผู้ที่เสพประจำ จนถึง 2-3 สัปดาห์สำหรับผู้เสพเรื้อรัง และแตกต่างกันไปสำหรับผู้ที่ใช้สารเสพติดชนิดอื่น ๆ ขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่นๆ ด้วย

 อย่างไรก็ตาม แพทย์เเนะนำให้เลิกใช้สารเสพติด และ ควรปรึกษาจิตเเพทย์ในการเลิกด้วย เนื่องจากในระยะยาว ระบบต่างๆ ในร่างกายมีผลต่อประสาทส่วนกลาง เช่น นอนไม่หลับ มือสั่น ใจสั่น ใจเต้นผิดจังหวะ อาจเสียชีวิตเฉียบพลันได้

ขณะที่ ยาที่มีผลทำให้การตรวจปัสสาวะเป็นผลบวก หรือ ฉี่ม่วง มีอะไรบ้าง ?

ซึ่งยังมีหลายคนเข้าใจผิดว่า เมื่อมีการใช้สารเสพติดจะทำให้ปัสสาวะออกมามีสีม่วงเลย จริง ๆ แล้วปัสสาวะม่วง ที่ว่า หมายถึงการนำปัสสาวะที่มีสีปกติไปผสมกับสารเคมีพิเศษที่ใช้ในการตรวจหาสารเสพติด

หากผู้ถูกตรวจมีการใช้สารเสพติดจริง สารเคมีจะทำปฏิกิริยากับปัสสาวะและเปลี่ยนให้กลายเป็นสีม่วง ทำให้ถูกเรียกติดปากว่าฉี่ม่วง

การตรวจพิสูจน์เพื่อคัดแยกตัวอย่างปัสสาวะที่ให้ผลบวก หรือ ฉี่ม่วง กรณีมีสารออกฤทธิ์ของ เช่น ยาบ้า เมทแอมเฟตามีน แอมเฟตามีน อีเฟดรีน หรือ ยาอี จำเป็นต้องกระทำการตรวจในโรงพยาบาล

กรณี ฉี่ม่วง ที่ไม่ใช่การเสพยาเสพติด  ขั้นตอนการตรวจสารเสพติดทางปัสสาวะมีดังนี้

การตรวจคัดกรองขั้นต้น ( Screening Test ) เป็นการตรวจหาว่ามีสารเสพติดอยู่ในร่างกายหรือไม่ แต่ไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นชนิดใด วิธีการตรวจคัดกรองขั้นต้นมีอยู่ 2 หลักการ คือ

1  Color test  2. Immunoassay   Test kits positive negative ตรวจโดยเจ้าหน้าที่ตำรวจ ตามด่านต่างๆ ไม่ใช่ นักเทคนิคการแพทย์

เมื่อผลเป็นบวกจะมีการดำเนินการตรวจเพื่อยืนยันอีกครั้ง เพราะอาจมีสารหรือตัวยารักษาโรคบางชนิดที่รับประทานอยู่และทำให้เกิดผลลวงได้

การตรวจยืนยัน ( Confirmation Test )  โดยใช้หลักการทางโครมาโตรกราฟี ( Chromatography ) ต่าง ๆ ซึ่งเป็นเทคนิคการตรวจขั้นสูง สามารถตรวจพบสารเสพติดที่มีปริมาณน้อยได้

และสามารถแยกชนิด ระบุประเภทของสารเสพติดได้อย่างถูกต้อง แม่นยำ เป็นมาตรฐานสากล นิยมนำมาใช้ตรวจคัดกรองในผู้ต้องสงสัยและตรวจประเมินในผู้ที่ต้องการรับการบำบัดสารเสพติดได้เป็นอย่างดี

ทั้งนี้ในรายที่ตรวจคัดกรองขั้นต้นแล้วพบว่าผลเป็นบวก หรือ มีข้อสงสัยว่ามีสารเสพติดในร่างกายจะต้องทำการตรวจยืนยันในขั้นต่อไป

จากการตรวจคัดกรองขั้นต้น สารที่อาจให้ผลบวกลวง หรือรบกวนการทดสอบโดยหลักการเคมีหรือคัลเลอร์เทสต์

 จากยาที่มีโครงสร้างที่เรียกว่ากลุ่ม amine อยู่ในโครงสร้างทางเคมีของยาด้วย จึงอาจจะมีโอกาสทำให้ฉี่ม่วงได้มีหลายชนิด 

เช่น คลอร์เฟนิรามีน เป็นยานี้ใช้สำหรับบรรเทาอาการแพ้ และหวัด ได้แก่ น้ำมูกไหล อาการจาม คันตาและน้ำตาไหลจากการแพ้

เช่น แพ้ละออง เกสรดอกไม้ ซึ่งเมื่อก่อนเราหาซื้อตามร้านขายยาได้ เพราะหลายคนใช้เพื่อการหลับพักผ่อน แต่ก็มีผู้นำไปทำยาเสพติด จึงทำให้ผู้บริโภคหาซื้อไม่ได้

ซูโดอีเฟดรีน ( Pseudoephedrine) ช่วงไม่ถึงสิบปี เราหาซื้อมาทานแก้ไข้หวัด แต่มีพวกขบวนการลักลอบทำยาเสพติด นำเอาไปเป็น 1 ใน 14 ของสารตั้งต้น ผลิตยาเสพติด

จนกระทั่ง ซูโดอีเฟดรีน เป็นยาผิดกฎหมายไปเลย ส่วน  เฟนิลโปรปาโนลามีน เฟนฟลูรามีน (Fenfluramine) ยาที่ใช้รักษาอาการชัก

และ  เฟนเทอร์มีน ( Phentermine ) เป็นยารักษาโรคอ้วนที่แพทย์อาจนำมาใช้ร่วมกับการควบคุมอาหารและออกกำลังกายในผู้ที่มีน้ำหนักเกินหรือผู้ที่มีปัญหาสุขภาพอื่นและจำเป็นต้องลดน้ำหนัก โดยจะออกฤทธิ์กระตุ้นระบบประสาทส่วนกลาง ช่วยเพิ่มอัตราการเต้นของหัวใจและความดันโลหิต รวมถึงลดความอยากอาหาร

ดังนั้นจึงทำให้การตรวจ Color test สารที่ให้ผลบวกลวง หรือ รบกวนการทดสอบ โดยหลักการภูมิคุ้มกันวิทยา หรือ ทางอิมมูโนแอสเสย์  เช่น ซูโดอีเฟดรีน  อีเฟดรีน รานิทิดีน โปรเคน  คลอโรควิน เฟนฟลูรามีน  

นักเทคนิคการแพทย์ จะใช้วิธีการใช้และแปลผลโดย Immunoassay ซึ่งจะเห็นได้ว่าการรับประทานยาบางชนิดที่มีโครงสร้างหรือองค์ประกอบ คล้ายสารเสพติดให้โทษตามกฎหมายนั้น

สามารถทำให้ผลการตรวจ Screen test มีผลเป็นบวกและอาจทำให้มีปัญหาเกี่ยวกับยาเสพติด ดังนั้น เมื่อมีความจำเป็นที่ต้องใช้ยาเหล่านี้

ควรมีหลักฐาน หรือ เอกสารใบรับรองแพทย์ต่าง ๆ เพื่อยืนยันความบริสุทธิ์และ ต้องมีการตรวจละเอียดในขั้นตอนต่อไป ควรปรึกษาแพทย์ เภสัชกร ขอคำแนะนำ กรณีที่ต้องใช้ยาเหล่านี้ในการรักษาโรคด้วย  

โดย สถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี  ระบุว่า ยาและสารเสพติด เมื่อเสพเข้าไปจะถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือด

หลังจากนั้นประมาณ 2-3 ชั่วโมง ร่างกายจะขับยา และสารเสพติดออกมาทางปัสสาวะ ซึ่งมีความเข้มข้นมากพอทำให้ตรวจพบได้ง่าย

และตกค้างในปัสสาวะได้นานหลายวัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาวะร่างกายของผู้เสพแต่ละคน รวมถึงปริมาณที่ใช้ ความถี่และชนิดของยาและสารเสพติดที่เสพเข้าสู่ร่างกาย

ดังนั้น สถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี  จึงมีการตรวจยืนยัน โดยใช้ หลักการทาง โครมาโตรกราฟฟี ( Chromatography ) หรือ วิธีการทางห้องปฏิบัติการในการแยกสารผสม

เป็นเทคนิคการตรวจขั้นสูงเป็นการตรวจวิเคราะห์ ที่มีความละเอียดสูงสามารถตรวจหายาและสารเสพติดที่มีปริมาณน้อยๆ ได้

และสามารถแยกชนิด ระบุ ประเภทของยาและสารเสพติดได้อย่างถูกต้องแม่นยำเป็นมาตรฐานสากล

โดยสามารถนำมาใช้ตรวจคัดกรอง ในผู้ต้องสงสัย และตรวจประเมินในผู้ป่วยยา และสารเสพติดได้เป็นอย่างดี

16 กรกฎาคม 2563

ผู้ชม 2291 ครั้ง

Engine by shopup.com