ผลศึกษาใหม่ล่าสุดชี้ การเปลี่ยนแปลง จุลินทรีย์ในลำไส้ ช่วยลดความอยากแอลกอฮอล์ สาเหตุทำให้คนป่วย โรคตับ มะเร็งตับ

บทความ

ผลศึกษาใหม่ล่าสุดพบ การเปลี่ยนแปลงจุลินทรีย์ในลำไส้ ช่วยลดความอยากแอลกอฮอล์ สาเหตุทำให้คนป่วย โรคตับ มะเร็งตับ

เว็บไซต์สุขภาพ ข่าวสาธารณสุข ท่องเที่ยว - ผลศึกษาล่าสุดที่ประชุม Digital International Liver Congress เผย การเปลี่ยนแปลงจุลินทรีย์ในลำไส้ ช่วยลดความอยากแอลกอฮอล์ ตัวก่อโรคตับ มะเร็งตับ

News Update วันเสาร์ที่ 29 สิงหาคม 2563 - ข่าวล่าสุดวันนี้  : เจนีวา--29 ส.ค.—พีอาร์นิวส์ไวร์ / อินโฟเควสท์

โรคมะเร็งตับ Hepatoma เป็นโรคที่เกิดจากเซลล์ของตับกลายเป็นเซลล์ มะเร็งมีการแบ่งตัว และแพร่กระจายจากตับไปยังอวัยวะอื่น ปัจจัยเสี่ยงได้แก่ การดื่มสุรา การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ

มะเร็งตับคืออะไร  Liver cancer

ตับ เป็นอวัยวะที่ใหญ่ที่สุดในร่างกาย มีน้ำหนักโดยประมาณ 2 %ของน้ำหนักตัว ตับอยู่บริเวณใต้ชายโครงขวา แบ่งออกเป็น 2 กลีบคือกลีบขวา และกลีบซ้าย

โดยมีเส้นเลือดมาเลี้ยง 2 เส้นคือ hepati artery และ portal vein ตับมีหน้าที่สะสมอาหาร เช่นน้ำตาล โปรตีน ไขมัน และวิตามินไว้ให้ร่างกายใช้ นอกจากนั้นยังเป็นอวัยวะที่ทำลายของเสีย

ตับยังทำให้หน้าที่สร้างโปรตีนที่เรียกว่า Albumin ซึ่งทำหน้าที่รักษาสมดุลของน้ำในเซลล์และเนื้อเยื่อ และยังนำฮอร์โมนไปยังเนื้อเยื่อ

ล่าสุด เว็บไซต์ medhubnews.com ข่าวสังคม สุขภาพ ท่องเที่ยว วาไรตี้ และ เพจ sasook ทวิตเตอร์ @medhub_news รายงานว่า การศึกษานำร่อง

ซึ่งนำเสนอในที่ประชุม The Digital International Liver Congress™ 2020 เผยให้เห็นถึงความสำคัญของจุลินทรีย์ในลำไส้

ที่มีต่อการลดภาระของโรคตับและมะเร็งตับที่เกิดจากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

การศึกษาดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อพิจารณาว่าการปลูกถ่ายเชื้อจุลินทรีย์ในอุจจาระ (FMT) ด้วยการนำอุจจาระของคนที่มีสุขภาพแข็งแรงมีเชื้อจุลินทรีย์ชนิดดีไปใส่ในลำไส้ของผู้ป่วย

สามารถลดความอยากแอลกอฮอล์ได้หรือไม่ ซึ่งถือเป็นขั้นตอนแรกที่จะนำไปใช้ในการทดลองขนาดใหญ่ขึ้นต่อๆ ไป

การศึกษานำร่องนี้ ซึ่งเป็นการทดลองทางคลินิกแบบสุ่ม (Randomized) ควบคุมด้วยยาหลอก (Placebo-controlled) และปกปิดข้อมูลทั้งสองด้าน (Double-blind)

ผู้ป่วยที่มีความผิดปกติจากการดื่มสุราจำนวน 20 ราย ซึ่งเคยลองใช้วิธีต่างๆ เพื่อเลิกดื่มแอลกอฮอล์มาหลายวิธีแต่ไม่สำเร็จนั้น

ได้รับการรักษาด้วยวิธี FMT หรือการให้ยาหลอก ซึ่งวิธี FMT แสดงให้เห็นว่า สามารถช่วยลดความอยากดื่มสุรา ตลอดจนผลกระทบของความเจ็บป่วย ( Sickness Impact Profile ) ทางจิตสังคมและทั้งหมดในวันที่ 15

หลังการรักษา นอกจากนี้ ยังพบด้วยว่า ผู้ป่วยที่รักษาด้วยวิธี FMT มีความหลากหลายทางชีวภาพของจุลินทรีย์เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับผู้ป่วยอีกกลุ่มหนึ่ง

ความไม่สมดุลของจุลินทรีย์ในลำไส้มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคตับจากแอลกอฮอล์ และการศึกษานี้ยังเพิ่มความเป็นไปได้ในการใช้ประโยชน์จากจุลินทรีย์ในลำไส้เพื่อปรับปรุงผลการรักษาผู้ป่วย

ในเคสของผู้ป่วยพิษสุราเรื้อรัง อนุมูลอิสระที่เรียกว่า Reactive Oxygen Species ซึ่งเกิดจากกระบวนการย่อยสลายแอลกอฮอล์

สามารถนำไปสู่โรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง ซึ่งสามารถทำให้เกิดภาวะลำไส้รั่วและเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบของจุลินทรีย์ ภาวะลำไส้รั่วนี้เองที่เชื่อกันว่าจะทำให้เกิดการเคลื่อนย้ายดีเอ็นเอของแบคทีเรียในลำไส้และสารที่เป็นพิษไปยังตับ

ซึ่งคาดว่าปัจจัยหลังเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการกระบวนการอักเสบที่สัมพันธ์กับการพัฒนาของโรคตับ ซึ่งรวมถึงโรคมะเร็ง

Dr. Jasmohan Bajaj แห่งศูนย์การแพทย์ McGuire VA Medical Center ในสหรัฐ ซึ่งเป็นผู้นำเสนอผลการศึกษาในการประชุม ILC แสดงความเห็นว่า

 “FMT เป็นวิธีการที่ปลอดภัย และแสดงผลของการช่วยลดความอยากสุราในระยะสั้น รวมถึงปรับปรุงคุณภาพชีวิตในแง่จิตสังคมของผู้ป่วยโรคตับแข็งและผู้ที่มีภาวะผิดปกติจากการดื่มสุรา” และเพิ่มเติมว่า

“หลังจากรักษาด้วยวิธี FMT การพบแบคทีเรียที่ผลิตกรดไขมันสายสั้นมากมายในกลุ่มผู้ป่วยซึ่งมีความหลากหลายของแบคทีเรียเพิ่มมากขึ้น แสดงให้เห็นว่า การปรับเปลี่ยนการสื่อสารระหว่างสมองและทางเดินอาหาร (gut-brain axis) อาจเป็นวิธีการที่ช่วยลดความรุนแรงของภาวะความผิดปกติจากการดื่มสุราในผู้ป่วยโรคตับแข็งได้”

ศาสตราจารย์ Luca Valenti สมาชิกคณะกรรมการวิทยาศาสตร์ EASL จากมหาวิทยาลัยมิลานในอิตาลี กล่าวว่า “การทำความเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างพันธุกรรมของมนุษย์กับจุลินทรีย์ไมโครไบโอมในแง่สุขภาพ

และการเกิดโรค เป็นหนึ่งในความก้าวหน้าครั้งสำคัญในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา” และเผยด้วยว่า “ผลการศึกษานี้จะเป็นรากฐานในการแสวงหาองค์ความรู้ใหม่ๆ ในการรักษาโรคตับต่อไป”

คลิ๊กอ่านข่าว "ชายไทย" ครองแชมป์ "มะเร็งตับ ท่อน้ำดี" หญิงไทยป่วย "มะเร็งเต้านม" มากสุด

Digital International Liver Congress: Alcohol cravings could be reduced by changing gut microbiota, new study reveals

GENEVA, Aug. 29, 2020 /PRNewswire/ -- The importance of gut microbiota in reducing the burden of alcohol-related liver disease and liver cancer has been demonstrated in a novel pilot study presented at The Digital International Liver Congress™ 2020.

The study examined whether the transfer of fecal bacteria from a healthy individual to a patient (FMT) could reduce cravings for alcohol as the first step for use in subsequent larger trials.

In a pilot, double-blind, placebo-controlled, randomized clinical trial, 20 patients with alcohol use disorder, who had tried several options to quit alcohol unsuccessfully, were given FMT or placebo.

FMT was shown to reduce alcohol cravings as well as the total and psychosocial sickness impact profile at Day 15 post-treatment.

A corresponding significant increase in microbiota diversity was also seen in FMT patients compared with baseline patients.

Imbalances in gut microbiota have been implicated as contributing to alcoholic liver disease and this study raises the possibility of exploiting gut microbiota management to improve patient outcomes.

In cases of chronic alcohol use, reactive oxygen species produced by alcohol metabolism can lead to chronic intestinal inflammation, which can increase gut permeability and alter microbiota composition.

Increased gut permeability is believed to lead to the relocation of gut bacterial DNA and endotoxins to the liver.

The latter are thought to induce inflammatory pathways associated with the development of liver diseases, including cancer.

"FMT was safe and showed an impact on reducing short-term alcohol cravings and improving psychosocial quality of life in patients with cirrhosis and alcohol use disorder," commented ILC study presenter Dr Jasmohan Bajaj of McGuire VA Medical Center, USA.

"The relative abundance of short-chain fatty acid-producing bacteria identified in patients with higher diversity after FMT demonstrates that altering the gut–brain axis is a potential avenue to alleviating alcohol use disorder in those with cirrhosis."

"The understanding of interactions between the human and microbiome genome in health and disease has represented one of the major areas of progress in the last few years," said Professor Luca Valenti, an EASL Scientific Committee member from the University of Milan, Italy.

"This study lays the groundwork for exploiting this new knowledge in the treatment of liver disease."

29 สิงหาคม 2563

ผู้ชม 1006 ครั้ง

Engine by shopup.com