โรค ALS คืออะไร ผู้ป่วยมักมีชีวิตไม่ยืนยาว 5 ปี ไม่เกิน 10 ปี แนะสังเกตตัวเอง แขนขาอ่อนแรง กลืนลำบาก พูดไม่ชัด ส่ออาการโรค ALS
โรค ALS คืออะไร ผู้ป่วยมักมีชีวิตไม่ยืนยาว 5 ปี ไม่เกิน 10 ปี แนะสังเกตตัวเอง แขนขาอ่อนแรง กลืนลำบาก พูดไม่ชัด ส่ออาการโรค ALS
โรคalsคือ, als โรค, ALS โรค, แม่ทุม, เว็บไซต์สุขภาพ ข่าวสาธารณสุข ท่องเที่ยว - โรค ALS คืออะไร ผู้ป่วยมักมีชีวิตไม่ยืนยาว 5 ปี ไม่เกิน 10 ปี แนะสังเกตตัวเอง แขนขาอ่อนแรง กลืนลำบาก พูดไม่ชัด ส่ออาการโรค ALS
หลังจาก แม่ทุม ปทุมวดี เค้ามูลคดี เสียชีวิต ซึ่งป่วยทรมานนานกว่า 8 ปี ด้วยโรคไทรอยด์เป็นพิษ
เกิดอาการภาวะจำอะไรไม่ได้ และ โรค ALS แม่ทุมเสียชีวิตอายุ 72 ปี
แม่ทุมเสียชีวิตเมื่อไหร่ เมื่อเวลา 02.25 น.ที่ผ่านมา
คลิ๊กอ่านข่าว แม่ทุม เสียชีวิต ด้วยโรคไทรอยด์เป็นพิษ และ โรค ALS สิริอายุ 72 ปี
News Update วันจันทร์ที่ 7 กันยายน 2563 - ข่าวล่าสุดวันนี้ : โรคไทรอยด์เป็นพิษ เรายังคงพอรู้จักกันบ้าง
เพราะมีผู้ป่วยจำนวนมาก แต่ไม่ค่อยรู้จัก โรค ALS ภาวะ กล้ามเนื้ออ่อนแรง
โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง โรค ALS คืออะไร ?
ล่าสุด เว็บไซต์ medhubnews.com ข่าวสังคม สุขภาพ ท่องเที่ยว วาไรตี้ และ เพจ sasook ทวิตเตอร์ @medhub_news รายงานว่า คำว่า ALS ย่อมาจาก Amyotrophic Lateral Sclerosis
โรค ALS ไม่ใช่ โรคของกล้ามเนื้อโดยตรง แต่เป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของเซลล์ประสาทนำคำสั่ง
ความผิดปกติของเซลล์ประสาท ส่งผลทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรงเนื่องจากขาดเซลล์ประสาทนำคำสั่งมาควบคุม
ซึ่งเซลล์เหล่านี้มีอยู่ในไขสันหลังและสมอง
โดยที่เซลล์ประสาทนำคำสั่งเหล่านี้ค่อยๆเกิดการเสื่อมและตายไปในที่สุด และเนื่องจาก ALS เป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของเซลล์ประสาทนำคำสั่ง
จึงมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า โรคของเซลล์ประสาทนำคำสั่ง ( motor neuron disease; MND ) หรือ โรคเซลล์ประสาทนำคำสั่งเสื่อม
ประเทศสหรัฐอเมริกาจะรู้จักโรคนี้ในนามของโรค ลู-เก-ริก ( Lou Gehrig Disease)
โดยตั้งชื่อโรคตามชื่อนักเบสบอลที่มีชื่อเสียงที่เป็นโรคนี้ในปี 1930
โรค ASL เป็นโรคที่รู้จักกันในอีกชื่อหนึ่ง คือ โรคลู เกร์ลิก
โรคเอแอลเอส มีสาเหตุมาจากหลากหลายปัจจัย เช่น เป็นโรคกล้ามเนื้อเส้น โรคเส้นประสาทอักเสบ ก็ทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรงได้ ซึ่งในทางการแพทย์ยังไม่ทราบสาเหตุของการเกิดโรคที่แน่ชัด
อาการของโรคเอแอลเอส มีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงบริเวณมือ แขน ขา หรือเท้าข้างใดข้างหนึ่งก่อน และจะค่อยๆ ลามไปยังแขนขาที่อยู่ใกล้เคียงกัน หรืออยู่คนละข้าง
ก่อนลามไป ทั้ง 2 ข้าง ในผู้ป่วยบางคนอาจจะมีอาการกลืนลำบาก พูดไม่ชัด ทำให้เกิดการสำลัก ติดเชื้อกลายเป็นปอดอักเสบ
ถ้าเกิดกลืนไม่ได้ กล้ามเนื้อก็จะฟ่อลง ทำให้เกิดทุพโภชนาการ หรือภาวะซึ่งเกิดขึ้นจากการรับประทานอาหารไม่สมดุลกัน โดยอาจมีสารอาหารบางอย่างได้รับไม่เพียงพอ เกิน หรือผิดสัดส่วน
ผู้ป่วยจะมีความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนอย่างอื่น เช่น ติดเชื้อในปอด หายใจไม่ได้ กลืนลำบาก สำลัก จนทำให้เสียชีวิต
วิธีสังเกตเบื้องต้นนั้น ร่างกายจะมีอาการอ่อนแรงของแขน หรือขา ข้างใด ข้างหนึ่งค่อยๆ เป็นมากขึ้นเรื่อยๆ ที่คิดว่าไม่ปกติแล้ว
และต้องไปหาสาเหตุว่าเป็นโรคอื่นหรือไม่ หรือเป็นโรคเอแอลเอส เพราะอาการของโรคในช่วงแรกจะไม่ค่อยจำเพาะเจาะจงเท่าไหร่ครับ”
คนไทยที่ป่วยโรคเอแอลเอส จะเจอผู้ป่วย 1 คนต่อประชากร 100,000 คน ซึ่งในประเทศไทยจะมีผู้ป่วยโรคนี้หลายร้อยคน
โรคเอแอลเอสส่วนใหญ่มักเกิดในผู้สูงวัยที่มีอายุเกิน 60 ปีขึ้นไป และมักจะมีชีวิตไม่ยืนยาว ประมาณ 5 ปี อย่างมากที่สุดก็ไม่เกิน 10 ปี
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อเป็นในระยะท้ายๆ จะทำให้ยิ่งหายใจลำบากมากขึ้น ผู้ป่วยจะต้องใส่เครื่องช่วยหายใจ
นอกจากการให้ยารักษาประคับประคองตามอาการของผู้ป่วยแล้วนั้น ยังมียา Riluzole
ซึ่งมีฤทธิ์ในการยับยั้งสารกลูตาเมต ซึ่งเป็นสารสื่อประสาทชนิดหนึ่ง สามารถช่วยชะลอโรค ยืดอายุของผู้ป่วยได้จำนวนหนึ่ง
21 กันยายน 2563
ผู้ชม 3084 ครั้ง